พระเจ้าฟาตาเฟฮี_เปาลาโฮ
พระเจ้าฟาตาเฟฮี_เปาลาโฮ

พระเจ้าฟาตาเฟฮี_เปาลาโฮ

พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ หรือ พระเจ้าเปา (ตองงา: Fatafehi Paulaho หรือ Pau) เป็นตูอิโตงาที่ 36 แห่งจักรวรรดิตูอิโตงา พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2 ตูอิโตงารัชกาลก่อนหน้ากับเลามานากีลูเป หญิงที่กำเนิดในตระกูลตูอิกาโนกูโปลู พระองค์อภิเษกสมรสกับพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ ซึ่งต่อมาจะสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นตูอิกาโนกูโปลู แม้ว่าตามสถานะทางตำแหน่งพระองค์จะเป็นพระมหากษัตริย์สูงสุดของจักรวรรดิตูอิโตงา ทว่าในด้านสถานะทางสังคม จากการที่ลำดับชั้นสังคมตองงายึดหลักมาตาธิปไตย ทำให้พระองค์มีสถานะที่ต่ำกว่าพระมเหสี จากการที่พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟสืบเชื้อสายมาจากตามาฮาและตูอีโตงาเฟฟีเน[1]การที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นตูอิโตงายังคงเป็นปริศนา เนื่องจากพระองค์ไม่ใช่พระราชโอรสองค์โตของพระบิดาหรือเป็นพระโอรสที่ประสูติจากโมเฮโอโฟที่ได้รับการยกย่อง[2] โดยพระมารดาของพระองค์ถือว่าเป็นชนชั้นขุนนางระดับล่าง[3] นักวิชาการตั้งข้อสันนิษฐานว่าการที่พระองค์ได้ราชสมบัติน่าจะมาจากการที่พระโอรสที่ประสูติแต่โมเฮโอโฟสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ทำให้พระบิดาเลือกพระองค์ขึ้นเป็นรัชทายาท หรือพระขนิษฐาของพระบิดา (ตูอีโตงาเฟฟีเน) เลือกพระองค์ให้สืบราชสมบัติ[4] หรืออาจมาจากความเป็นผู้นำและความสามารถในการรบของพระองค์[5] ซึ่งในเวลาต่อมาพระองค์จะพยายามแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพิ่มขึ้น หลังจากที่ในระยะหลังตูอิโตงามีสถานะเป็นเพียงกษัตริย์นักบวชเท่านั้น[4]ในรัชสมัยของพระองค์ กัปตันเจมส์ คุกได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนตองงาเป็นครั้งที่สองใน ค.ศ. 1777 ซึ่งในครั้งนี้คุกได้มีโอกาสเข้าพบพระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ จากการที่เข้าพบกับพระเจ้าฟีเนา อูลูกาลาลาที่ 1 ที่ฮาอะไป ซึ่งในระยะแรกคุกเข้าใจว่าพระเจ้าฟีเนา อูลูกาลาลาที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์ของหมู่เกาะตองงาทั้งมวล ทว่าเมื่อพระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮเสด็จมายังฮาอะไป เขาก็ทราบทันทีว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สูงสุดของหมู่เกาะแห่งนี้[6] ต่อมาคุกได้ติดตามพระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮไปยังโตงาตาปู ศูนย์กลางอำนาจของจักรวรรดิ[6] และได้เข้าร่วมในพิธีการอีนาซี[4]ด้วยเหตุที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ทั้งที่ไม่ใช่รัชทายาทลำดับต้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในอนาคตของพระโอรสของพระองค์ พระองค์จึงให้เจ้าชายฟูอานูนูอีอาวาร่วมเสวยพระกระยาหารร่วมกันในพิธีการอีนาซี ซึ่งเท่ากับว่าพระองค์ยกเกียรติพระโอรสเทียบเท่ากับพระองค์ ซึ่งถือได้ว่าผิดธรรมเนียมเป็นอย่างมาก[7] เนื่องจากไม่เพียงแต่ตูอิโตงายังมีพระชนม์ชีพอยู่ แต่ยังเป็นประธานหลักของงานอีกด้วย[8] ซึ่งความแปลกประหลาดในครั้งนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าอาจมาจากความพยายามของพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ[9] หรืออาจจะมาจากพระองค์เองที่ต้องการแสดงเจตจำนงว่าได้เลือกรัชทายาทไว้แล้ว หากมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น[8]ความปรารถนาของพระองค์ที่ต้องการให้อำนาจทางการเมืองการปกครองกลับคืนสู่ตูอิโตงา ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับตระกูลตูอิกาโนกูโปลู และนำไปสู่การสวรรคตของพระองค์ในสงครามที่วาวาอูซึ่งอาจเกิดเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1784 หรืออีกทศวรรษหลังจากนั้น[10] พระองค์สวรรคตจากการสู้รบกับวูนา ซึ่งอยู่ในฝ่ายของตูอิกาโนกูโปลูที่มีพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ พระมเหสีของพระองค์เองเป็นผู้นำ[11] พระศพของพระองค์ถูกหมิ่นพระเกียรติด้วยการฝังที่วาวาอูในฐานะหัวหน้าชุมชนไม่ใช่ตูอิโตงา ด้วยเหตุที่พระมารดามีชาติตระกูลต่ำ[12] กลุ่มตูอิกาโนกูโปลูเลือกพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระองค์เป็นตูอิโตงา โดยกีดกันพระโอรสของพระองค์ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดพระโอรสของพระองค์จะได้ขึ้นเป็นตูอิโตงาในเวลาต่อมา[12]

พระเจ้าฟาตาเฟฮี_เปาลาโฮ

พระราชสมภพ ค.ศ. 1749
พระราชบุตร พระโอรส 2 พระองค์
พระธิดา 9 พระองค์
ราชวงศ์ ตูอีโตงา
พระปรมาภิไธย พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ
ครองราชย์ ค.ศ. 1770–1784
รัชกาลถัดไป พระเจ้าฟาตาเฟฮี มาอูลูเบโกตูฟา
รัชกาลก่อน พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2
พระศพ วาวาอู
พระราชมารดา เลามานากีลูเป
พระราชบิดา พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2
พระมเหสี พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ
สวรรคต ค.ศ. 1784
พระอิสริยยศ ตูอิโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา
รัชกาล 14 ปี

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ