พระราชประวัติ ของ พระเจ้าฟุอาดที่_1_แห่งอียิปต์

พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1868 ณ พระราชวังกีซา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ในเคดีฟอิสมาอิล พาชากับฟาเรียล คาดิน โดยพระองค์สืบเชื้อสายจากมูฮัมหมัดอาลี พาชา และมีเชื้อสายแอลเบเนีย เมื่อพระองค์ประสูติอียิปต์ยังไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤๅก็เข้ามามีอิทธิพลต่ออียิปต์จนสุลต่านอิสมาอิล พาชา พระบิดาของพระองค์ ได้ส่งพระองค์เข้าไปศึกษายังประเทศอิตาลี ก่อนศึกษาวิชาทหารที่ตูริน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917

ในปี ค.ศ. 1882 ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา อียิปต์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง แต่พระราชบิดาของพระองค์นิยมตะวันตก และสร้างความแตกแยกในประเทศ ข้าราชการและขุนนางแบ่งกันเป็นฝักฝ่าย ซึ่งส่วนใหญล้วนนิยมต่อต้านตะวันตกทั้งสิ้นต่อมาพระบิดาของพระองค์จึงดำเนินนโยบายเพื่อสานผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย[2]

ก่อนที่พระองค์จะได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์ พระได้มีส่วนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยไคโร ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยไคโร ในปี ค.ศ. 1903-1913 โดยนายฮุสเซน รุสดี พาชา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นได้รับช่วงต่อจากพระองค์ แต่พระองค์ไม่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการช่วยเหลือพระราชวงศ์แอลเบเนีย ซึ่งได้รับอิสระจากจักรวรรดิออตโตมันก่อนกำหนด[3] นอกจากนี้พระองค์ยังดำรงตำแหน่งนายกสภาภูมิศาสตร์อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1915-1918[4]

เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระเชษฐาของพระองค์คือสุลต่านฮุสเซน คามิลจึงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยเมื่อพระเชษฐาครองราชย์ได้ระยะเวลาหนึ่งจึงสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งสุลต่านจึงตกมาเป็นของพระองค์ ใน ค.ศ. 1917 โดยหลังจากนั้นไม่นาน สงครามโลกครั้งที่สองจึงได้อุบัติขึ้น ระหว่างสงครามนั้นเอง สุลต่านฟุอาดได้แสดงตัวเป็นฝ่ายอังกฤษอย่างเปิดเผย สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มที่ต่อต้านอังกฤษมาก และหลังจากสงครามจบลง คนกลุ่มนี้จึงก่อความไม่สงบขึ้น สุลต่านฟุอาดจึงพยายามประนีประนีจนเหตุการณ์สงบลง ด้วยความดีความชอบนี้เอง อังกฤษจึงมอบเอกราชให้แก่อียิปต์โดยพระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็น พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ กษัตริย์พระองค์แรกของอียิปต์ หลังจากพ้นจากการปกครองของสหราชอาณาจักร[2] เมื่อ ค.ศ. 1922

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ