พระประวัติ ของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าเฉิดโฉม

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิดโฉม เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสีดา (สตรีชาวสุพรรณบุรี มารดาชื่อแพงดีมีเชื้อสายลาวเวียงจันทน์ ทั้งนี้เจ้าจอมมารดาสีดาเป็นญาติห่าง ๆ ของเจ้าจอมมารดาวันดี พระมารดาของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิมพับสรสร้อย และพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสอางองค์)

พระองค์เจ้าเฉิดโฉมประสูติเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2399 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์เจ้าเฉิดโฉมประชวร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยให้พระองค์เจ้าเฉิดโฉมเสด็จไปเข้ารับการรักษาที่ตึกปัญจมราชินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กระทั่งสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเพียงสองวัน สิริพระชันษา 90 ปี และเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สิ้นพระชนม์เป็นลำดับสุดท้าย

จากบันทึกของเอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเป็นครูในโรงเรียนวังหลัง (ต่อมาคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) ซึ่งได้มีโอกาสสนิทสนมกับพระองค์เจ้าเฉิดโฉม แสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นเจ้านายสยามที่สนพระทัยในศาสนาคริสต์เป็นอย่างยิ่ง ดังข้อความที่ปรากฏในหนังสือ "สยามคือบ้านของเรา" ความว่า "พระองค์ทรงเล่าให้ฉันฟังโดยทรงรับสั่งอย่างช้า ๆ และเว้นจังหวะหยุดเป็นช่วง ๆ ว่าพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ได้เข้าเฝ้าฯในพระบรมมหาราชวังเป็นครั้งราว และยังทรงสละเวลามีพระราชปฏิสันถารด้วย หัวข้อที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดสนทนาเป็นพิเศษคือเรื่องศาสนา และมักจะทรงวกมาที่เรื่องของศาสนาคริสต์อยู่เสมอ เพราะพระเจ้าอยู๋หัวทรงทราบดีว่าพระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องนี้ โดยทรงเรียนรู้จากพระสหายที่เป็นคริสเตียนในโรงเรียนวังหลัง หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทรงรับเป็นองค์อุปถัมป์ของสโมสรสตรีแห่งแรกของกรุงเทพฯ..."[2]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ