พระราชประวัติ ของ พระเจ้ารามิโรที่_1_แห่งอารากอน

รามิโรเป็นบุตรชายนกสมรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งปัมโปลนา (นาวาร์) กับซันชาแห่งอัยบาร์ ซึ่งเป็นภรรยาลับของกษัตริย์[1] ในช่วงรัชสมัยของพระบิดา พระองค์ได้เป็นสักขีพยานในกฎบัตรในปี ค.ศ. 1011 และได้รับพระราชทานที่ดินมากมายในเคาน์ตีอารากอน และในการแบ่งราชอาณาจักรหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าซันโชที่ 3 ในปี ค.ศ. 1035 รามิโรได้เคาน์ตีอารากอนโดยมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ซึ่งเป็นส่วนย่อยในนาวาร์และประเทศของชาวบาสก์ที่ตกเป็นของการ์เซีย พระเชษฐาคนโตต่างมารดา เคาน์ตีกัสตียาตกอยู่ในการครอบครองของเฟร์นันโด ขณะที่ซาบราร์เบและริบาโกร์ซาตกเป็นของกอนซาโล รามิโรได้ครองอารากอนภายใต้การปกครองของการ์เซีย

รามิโรหาทางขยายอาณาเขตด้วยการยึดดินแดนมาจากชาวมัวร์และการ์เซีย พระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ หลังพระบิดาสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน พระองค์สนับสนุนเอมีร์แห่งตูเดลาให้รุกรานนาวาร์ แม้จะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิตาฟายา แต่พระองค์ก็ได้ดินแดนมาเพิ่ม หนึ่งในนั้นคือซังเกวซา และสถาปนาตนเป็นรัฐกึ่งอิสระ ในปี ค.ศ. 1043 ทรงได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าการ์เซียให้ผนวกซาบราร์เบและริบาโกร์ซาซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของกอนซาโล พระอนุชาที่เป็นพระโอรสตามกฎหมายคนสุดท้องของพระบิดา[2] การรวมตัวกันครั้งนี้ถือกำเนิดรัฐอิสระเทียมอารากอนที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ฆากา ซึ่งต่อมาจะเติบโตเป็นราชอาณาจักรอารากอน

ก่อนอภิเษกสมรส พระเจ้ารามิโรมีภรรยาลับชื่อว่าอามูญญา ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน คือ ซันโช รามีเรซ[3] ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารปกครองเคาน์ตีริบาโกร์ซา[4]

พระเจ้ารามิโรสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิเกราส์ในปี ค.ศ. 1063 ด้วยพระชนมายุ 55 – 56 พรรษา ขณะกำลังพยายามยึดเมือง[5] ร่างของพระองค์ถูกฝังที่อารามซันฆวนเดลาเปญญาในซันตากรูซเดลาเซโรส

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ