พระราชประวัติ ของ พระเจ้าวัลเดมาร์ที่_1_แห่งเดนมาร์ก

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายคนุด ลาวาร์ด ดยุกแห่งชเลสวิช กับเจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ เจ้าชายคนุด ลาวาร์ดทรงเป็นผู้มีความกล้าหาญและเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน เจ้าชายคนุดเป็นพระราชโอรสในกษัตริย์อีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ต่อมาเจ้าชายคนุดได้ถูกปลงพระชนม์โดยกษัตริย์มักนุส ผู้แข็งแกร่งแห่งสวีเดน พระญาติและเป็นศัตรูของเจ้าชายคนุด ซึ่งทั้งสองพระองค์มีสิทธิในราชบัลลังก์เดนมาร์ก เจ้าชายคนุดสิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่วันก่อนที่เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กจะมีพระประสูติกาลเจ้าชายวัลเดมาร์ในปีค.ศ. 1131 เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ เป็นพระราชธิดาในแกรนด์ปรินซ์มิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟและเจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอร์สด็อทเทอร์แห่งสวีเดน เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กตั้งพระนามพระราชโอรสตามพระอัยกา คือ วลาดิเมียร์ที่ 2 โมโนมักห์ แกรนด์ปรินซ์แห่งเคียฟ

ด้วยที่ทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และศัตรูผู้มีสิทธิในบัลลังก์องค์อื่นๆต่างมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจ้าชายวัลเดมาร์จึงถูกนำพระองค์ไปอภิบาลที่เมืองริงสเต็ด ในสำนักของเคานท์อัสเซอร์ ริกแห่งเฟ็นเนสรีฟ (ราวค.ศ. 1080 - 1151) ขุนนางชาวเดนมาร์ก อัสเซอร์เป็นสมาชิกตระกูลไฮวด์ และเป็นตระกูลที่ทำการอบรมเลี้ยงดูเจ้าชายคนุด ลาวาร์ด พระราชบิดาของพระองค์ด้วย เจ้าชายวัลเดมาร์ทรงได้รับการอบรมเลี้ยงดูพร้อมๆกับเหล่าบุตรชายของอัสเซอร์ ซึ่งรวมทั้ง อับซาลอน (ราวค.ศ. 1128 - 1201) ผู้ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นพระสหายสนิทและที่ปรึกษาของพระองค์ที่ทรงไว้วางพระทัยมากที่สุด ภายหลังเขาได้รับตำแหน่งบิชอปแห่งมุขมณฑลรอสคิลด์ในช่วงปีค.ศ. 1158 - 1192 และอาร์กบิชอปแห่งลุนด์ตั้งแต่ค.ศ. 1178 จนกระทั่งเขาเสียชีวิต[2][3][4]

ในปีค.ศ. 1146 เมื่อเจ้าชายวัลเดมาร์มีพระชนมายุได้ 15 พรรษา กษัตริย์อีริคที่ 3 แห่งเดนมาร์กสละราชบัลลังก์และทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ได้แก่

เจ้าชายวัลเดมาร์เองก็ทรงตรึงกำลังอยู่ที่คาบสมุทรจัตแลนด์และส่วนหนึ่งของดัชชีชเลสวิชที่ซึ่งเป็นดินแดนที่พระองค์ได้มาจากการสืบทอดมรดก สงครามกลางเมืองชิงบัลลังก์ครั้งนี้กินเวลายาวนานถึงสิบปี และในปี 1154 เจ้าชายวัลเดมาร์ก็สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก

ในปีค.ศ. 1157 กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ตัดสินใจที่จะแบ่งประเทศออกเป็นสามราชอาณาจักร กษัตริย์สเวนที่ 3 ได้ทำการจัดงานเลี้ยงขึ้นที่รอสคิลด์ในวันที่ 9 สิงหาคม เพื่อเชิญกษัตริย์คนุดที่ 5 และกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 มาร่วมงานเพื่อเจรจาสันติภาพ กษัตริย์วัลเดมาร์เสด็จมาพร้อมกับอับซาลอน ที่ปรึกษาคนสนิท แต่ในความเป็นจริงแล้วกษัตริย์สเวนที่ 3 ทรงตั้งพระทัยที่จะใช้งานเลี้ยงนี้สังหารกษัตริย์ทั้งสอง กษัตริย์คนุดที่ 5 ถูกปลงพระชนม์ในงานเลี้ยงโดยทหารของกษัตริย์สเวน ส่วนกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 และอับซาลอนสามารถหลบหนีไปได้ เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า "งานเลี้ยงเลือดที่รอสคิลด์" (Bloodfeast of Roskilde) กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงหลบหนีกลับคาบสมุทรจัตแลนด์ได้ กษัตริย์สเวนจึงรีบระดมกองทัพรุกรานคาบสมุทรจัตแลนด์ทันที ยุทธการกราเธอฮีทเกิดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1157 และเป็นจุดจบของสงครามกลางเมืองเดนมาร์ก กษัตริย์สเวนที่ 3 สวรรคตในสนามรบ โดยพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเหล่าชาวนาราษฎรของกษัตริย์วัลเดมาร์ ที่จับกุมพระองค์และสังหารเสียขณะที่ทรงหลบหนีออกจากสมรภูมิและม้าของพระองค์ติดอยู่ในพรุ จากเหตุการณ์นี้กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าศัตรูผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ทุกคน จึงทำให้พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กเพียงพระองค์เดียว[5]

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 และบิชอปอับซาลอน ในช่วงยึดครองอาร์โกนาของชาวเวนด์ และบีบบังคับให้พวกเขายอมสวามิภักดิ์ พร้อมนับถือศาสนาคริสต์

ในปีค.ศ. 1158 อับซาลอนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งรอสคิลด์ และกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาและสหายสนิท พระองค์ทรงจัดระเบียบและฟื้นฟูเดนมาร์กที่บอบช้ำจากสงครามขึ้นมาใหม่ พระองค์ทรงสร้างปราสาทชอนเดนบอร์กให้เป็นป้อมปราการบนช่องแคบอัลส์ ที่เชื่อมต่อกับเกาะอัลส์[6]

จากการปลุกเร้าของอับซาลอน กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงประกาศสงครามกับชาวเวนด์ซึ่งมักปล้นสดมภ์ตามชายฝั่งทะเลเดนมาร์ก พวกเขาอาศัยอยู่บริเวณพอเมอเรเนียและเกาะรือเกินในทะเลบอลติก ในปีค.ศ. 1168 เมืองหลวงของชาวเวนด์ คือ อาร์โกนาได้ถูกยึดครอง และชาวเวนด์ยอมนับถือศาสนาคริสต์และยอมสวามิภักดิ์ต่อเดนมาร์ก อิทธิพลของเดนมาร์กกว้างไกลไปถึงพอเมอเรเนีย ในปีค.ศ. 1175 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 ทรงสร้างปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ให้เป็นป้อมปราการป้องกัน และเป็นฐานในการโจมตีเมืองตามชายฝั่งเยอรมัน[7]

พระองค์สวรรคตที่ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1182 ขณะมีพระชนมายุ 51 พรรษา พระเจ้าคนุดที่ 6 แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าวัลเดมาร์ที่_1_แห่งเดนมาร์ก http://www.findagrave.com/cgi-bin/fg.cgi?page=gr&G... http://www.danmarksborgcenter.dk/content/us4/about http://denstoredanske.dk/Danmarks_geografi_og_hist... http://denstoredanske.dk/Danmarks_geografi_og_hist... http://www.kingsofdenmark.dk/king19.htm http://runeberg.org/dbl/1/0388.html https://danmarkshistorien.dk/leksikon-og-kilder/vi... https://archive.org/stream/danishballads00smituoft... https://web.archive.org/web/20110705200113/http://...