พระเจ้าหรรษวรรธนะ
พระเจ้าหรรษวรรธนะ

พระเจ้าหรรษวรรธนะ

พระเจ้าหรรษวรรธนะ หรือ พระเจ้าศรีลาทิตย์ (ราว พ.ศ. 1140−1190) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่งราชวงศ์วรรธนะ ปกครองทางตอนเหนือ ปกครองราวปี พ.ศ. 1149 ถึง 1190 พระเจ้าหรรษวรรธนะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าประภากรวรรธนะ มีพระเชษฐาคือ พระเจ้าราชยวรรธนะ กษัตริย์แห่งธเนศวร (ปัจจุบันอยู่ในรัฐหรยาณา) ในยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางทิศตะวันออกไปถึงกามรูป (Kamarupa) และทางทิศใต้ไปถึงแม่น้ำนรรมทา จนได้ตั้งเมืองกันยากุพชะ (Kanyakubja) หรือกานโนช (Kannauj) เป็นเมืองหลวง (รัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน) จนสวรรคตในปี พ.ศ. 1190[2]ด้วยความเจริญรุ่งเรือง จึงดึงดูดให้เหล่าบรรดานักปราชญ์ ศิลปิน และผู้แสวงบุญเดินทางไกลมาหาอย่างกว้างขวาง[2] อย่างเช่น พระภิกษุชาวจีน พระถังซัมจั๋ง ที่ได้เดินทางมาและยังได้เขียนบันทึกชื่นชมพระองค์อย่างมาก โดยนับถือในความยุติธรรมและความกรุณาของพระองค์[2] ชีวประวัติของพระองค์ได้รับการบันทึกไว้ใน หรรษจริต แต่งโดย พาณะนอกจากนั้นยังเชื่อว่าพระองค์ประพันธ์ รตนาวลี (Ratnavali), ปริยทรรศิกา (Priyadarsika) และ นาคานันทะ (Nagananda)[3]

พระเจ้าหรรษวรรธนะ

ราชวงศ์ ราชวงศ์วรรธนะ (ปุษยภูติ)
ก่อนหน้า พระเจ้าราชยวรรธนะ
ครองราชย์ ป. พ.ศ. 1149 –  1190
พระราชมารดา Yasomati
พระราชบิดา พระเจ้าประภากรวรรธนะ
สวรรคต พ.ศ. 1190
ถัดไป Yashovarman
ประสูติ พ.ศ. 1140
ศาสนา ศาสนาพราหมณ์, ศาสนาพุทธ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ