การเสกสมรส ของ พระเจ้าหลุยส์ที่_12_แห่งฝรั่งเศส

ฌานน์พระมเหสี ผู้ต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญฌานน์แห่งวาลัวส์พระเจ้าหลุยส์ทรงม้าศิลปะกอธิคตกแต่ง (Flamboyant Gothic) เหนือประตูวังบลัวส์

ในปี ค.ศ. 1476 พระเจ้าหลุยส์ทรงเสกสมรสกับฌานน์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสพระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ หลังจากพระเชษฐาของฌานน์ผู้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ต่อจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 เสด็จสวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส การเสกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ก็ได้รับการประกาศให้เป็นโมฆะเพื่อเปิดโอกาสให้พระองค์ทรงเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตานีพระราชินีหม้ายในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ผู้ทรงเป็นทายาทของฟรานซิสที่ 2 ดยุกแห่งบริตตานี (Francis II, Duke of Brittany) ซึ่งเป็นการทำให้สามารถผนวกดัชชีแห่งบริตตานีเข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส

แต่กระบวนการประกาศให้การแต่งการเป็นโมฆะก็ไม่ง่ายนัก และได้รับการบรรยายว่าเป็น “คดีที่น่าขยะแขยงที่สุดของสมัยนั้น”[1] พระเจ้าหลุยส์มิได้ทรงใช้การแต่งงานภายในสายเลือดเดียวกัน (consanguinity) เป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุผลที่นิยมใช้เป็นข้ออ้างกันในสมัยนั้น แม้ว่าจะทรงสามารถหาพยานพิสูจน์ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อกันโดยการแต่งงานของบรรดาพี่ๆ น้องๆ หลายคู่ และไม่ทรงสามารถใช้ข้ออ้างที่ว่าพระชนมายุต่ำกว่าที่ระบุไว้ในกฎหมาย (14 ปี) ที่จะต้องได้รับอนุญาตในการเสกสมรส ไม่มีใครทราบว่าพระองค์ประสูติเมื่อใด พระองค์เองตรัสว่ามีพระชนมายุ 12 ปี ผู้อื่นสันนิษฐานว่า 11 ถึง 13 ปี แต่ก็ไม่มีสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าทรงถูกบังคับให้ใช้เหตุผลอื่น

ในการพยายามทำให้การเสกสมรสเป็นโมฆะพระองค์ (ด้วยความตกพระทัยอย่างคาดไม่ถึงของพระราชินี) ก็ทรงอ้างว่าฌานน์มีความปกติทางร่างกายและทรงบรรยายอย่างละเอียดถึงสิ่งต่างๆ ที่ทรงเห็นว่าผิดปกติที่ทำให้ไม่ทรงสามารถทำหน้าที่เป็นพระสวามีของฌานน์ได้ ฌานน์ (ซึ่งก็ไม่น่าที่จะแปลกใจ) ทรงต่อสู้ข้อกล่าวหาอย่างรุนแรงทรงหาพยานที่กล่าวว่าเป็นผู้ได้ยินพระเจ้าหลุยส์ทรงคุยโวว่าทรงทำหน้าที่สามสี่ครั้งในคืนหนึ่ง (“mounted my wife three or four times during the night”)[1] พระเจ้าหลุยส์ทรงอ้างว่าการสมสู่มีอิทธิพลจากเวทมนตร์ของแม่มด ฌานน์ทรงโต้โดยทรงถามว่าถ้าเช่นนั้นพระเจ้าหลุยส์จะทรงทราบได้อย่างไรว่าการสมสู่กับพระองค์เป็นอย่างไร[2]

ถ้าพระสันตะปาปาทรงเป็นกลางแล้วฌานน์ก็คงชนะเพราะหลักฐานของพระเจ้าหลุยส์ออกจะอ่อน แต่สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ทรงมีเหตุผลทางการเมืองที่ทำให้ต้องทรงอนุมัติการหย่าร้างโดยการประกาศให้การแต่งงานเป็นโมฆะ[3] ฌานน์พิโรธแต่ก็ทรงหลีกทางให้พระอดีตสวามีและกล่าวว่าจะทรงสวดมนต์ให้พระองค์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “ดัชเชสแห่งเบร์รี” หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็ทรงเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตตานี

หลังจากแอนน์สิ้นพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงเสกสมรสกับแมรี ทิวดอร์พระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษที่แอเบวิลล์ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 เพื่อพยายามที่จะมีพระราชโอรสหรืออาจจะเพื่ออ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษไปด้วยในตัวแต่ก็ไม่สำเร็จทั้งสองอย่าง แม้ว่าจะทรงเสกสมรสสองครั้งก่อนหน้านั้นแต่ก็ไม่มีพระราชโอรส พระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 ไม่ถึงสามเดือนหลังจากที่เสกสมรสกับแมรี ว่ากันว่าจากการที่ทรงหักโหมในกิจกรรมในห้องพระบรรทมแต่การเสกสมรสครั้งสุดท้ายก็มิได้ทำให้มีพระราชโอรสเช่นเดียวกับสองครั้งแรก

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ