นโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศ ของ พระเจ้าหลุยส์ที่_12_แห่งฝรั่งเศส

แม้ว่าจะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่มีพระชนมายุมากแล้วและทรงมีอำนาจโดยไม่ได้คาดพระเจ้าหลุยส์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีบทบาทที่รวมทั้งการปฏิรูประบบกฎหมาย, ลดภาษี และปรับปรุงรัฐบาล เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ในสมัยเดียวกันสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงทำในอังกฤษ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นผู้มีประสิทธิภาพในการบริหารขุนนางที่รวมทั้งฝักฝ่ายของราชวงศ์บูร์บองผู้มีอำนาจซึ่งเป็นการทำให้สร้างความมั่นคงให้แก่รัฐบาล ในกฤษฎีกาแห่งบลัวส์ (Ordinance of Blois) ของ ค.ศ. 1499 และใน กฤษฎีกาแห่งลิออง (Ordinance of Lyon) ของ ค.ศ. 1510 พระเจ้าหลุยส์ทรงขยายอำนาจของผู้พิพากษาและทรงพยายามจำกัดความฉ้อโกงทางกฎหมาย กฎหมายอันซับซ้อนของฝรั่งเศสก็ได้รับการบัญญัติและอนุมัติโดยพระราชประกาศ

ในการพยายามควบคุมดัชชีแห่งมิลาน (Duchy of Milan) ที่ทรงอ้างสิทธิจากการเป็นพระปนัดดาทางพระบิดาของวาเล็นตินา วิสคอนติ (Valentina Visconti) พระเจ้าหลุยส์ทรงเริ่มการทำศึกในสงครามอิตาลี (Italian Wars) หลายครั้งและทรงได้รับความสำเร็จในการยึดมิลานในปี ค.ศ. 1499 จากลุดโดวิโค สฟอร์ซา (Ludovico Sforza) และใช้เป็นที่ตั้งมั่นของฝรั่งเศสอยู่ 12 ปี ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือชัยชนะที่ทรงได้รับต่อเวนิสในยุทธการอญาเดลโล (Battle of Agnadello) ในปี ค.ศ. 1509 แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1510 สถานะการณ์ก็เริ่มเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ผู้ทรงเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถทรงเข้าครอบครองวาติกันและก่อตั้ง “สันนิบาตคาทอลิกอิตาลี” (Catholic League) เพื่อป้องกันการขยายอำนาจของฝรั่งเศสในอิตาลี ในที่สุดฝ่ายฝรั่งเศสก็ถูกขับออกจากมิลานในปี ค.ศ. 1513

ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชอาณาจักรเนเปิลส์ร่วมกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2แห่งราชอาณาจักรอารากอน ทั้งสองพระองค์ตกลงแบ่งอาณาจักรเนเปิลส์ในสนธิสัญญากรานาดา (ค.ศ. 1500) แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถตกลงกันได้จนก่อให้กิดสงคราม ในที่สุดในปี ค.ศ. 1504 ก็เสียเนเปิลส์

พระเจ้าหลุยส์ทรงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้ที่มีความนิยม ในปลายรัชสมัยของพระองค์ฐานะทางการคลังของพระองค์ก็มิได้ต่างไปจากเมื่อทรงเริ่มขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1498 เท่าใดนักแม้ว่าจะทรงใช้เงินไปในการทำศึกเป็นจำนวนมากหลายครั้งในอิตาลีก็ตาม การปฏิรูปงบประมาณแผ่นดินของปี ค.ศ. 1504 และปี ค.ศ. 1508 เป็นการจำกัดการใช้จ่ายและการปรับปรุงระบบการเก็บภาษี พระเจ้าหลุยส์ทรงได้รับการขนานนามว่าเป็น “พระบิดาของประชาชน” ("Le Père du Peuple") ในปี ค.ศ. 1506

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ