ราชกรณียกิจ ของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์

เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระเจ้ากาวิละ
พระยาธรรมลังกา
พระยาคำฟั่น
พระยาพุทธวงศ์
พระเจ้ามโหตรประเทศ
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
เจ้าแก้วนวรัฐ

แดเนียล แมคกิลวารี ซึ่งสนิทสนมกับพระองค์ ได้วิจารณ์พระองค์ว่า "...ท่านไม่โปรดปรานอะไรมากไปกว่าการทำงานในโรงงานเล็กๆ ทำกูบช้างแบบแปลกๆ ซึ่งไม่ต้องระมัดระวังตัวและรับผิดชอบอะไร และปล่อยให้น้องชายปกครองบ้านเมืองแทน"

ช้างพลายมงคล แต่งเป็นช้างเอราวัณสามเศียร ในขบวนแห่พิธีโล้ชิงช้า พ.ศ. 2437

การศาสนา

ด้านการศาสนาในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ปรากฏว่าพระองค์ทรงทำนุบำรุงวัดวาอารามหลายแห่งจนปรากฏถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา อาทิ

  • พ.ศ. 2398 ทรงสร้างอุโบสถวัดกิตติ และ พ.ศ. 2413 ทรงรื้อหอคำของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างเป็นวิหารหลวงวัดกิตติ
  • พ.ศ. 2416 ทรงสร้างวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพ และยังสร้างอุโบสถวัดเชียงมั่นในปีเดียวกัน
  • พ.ศ. 2418 ทรงฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์ และรื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ไปสร้างวิหารวัดพันเตา
  • พ.ศ. 2419 ฉลองวัดพระธาตุดอยสุเทพ
  • พ.ศ. 2420 ทรงรื้อท้องพระโรงของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างวิหารวัดแสนฝาง สร้างวิหารวัดเชียงมั่น และฉลองสะพานข้ามแม่น้ำปิงตรงวัดเกตุการาม
  • พ.ศ. 2422 ถวายคัมภีร์ชุดทศชาติชาดก และธรรมชาดกต่างๆ
  • พ.ศ. 2423 ทรงสร้างวิหารวัดเจดีย์หลวง ตลอดจนสร้างกุฏิ อุโบสถ วิหารพระนอน ซ่อมหอมณฑปเสาอินทขีล และกุมภัณฑ์
  • พ.ศ. 2424 ทรงหล่อระฆังใบใหญ่ไว้ที่วัดข่วงสิงห์ และได้ยกช่อฟ้าวัดเจดีย์หลวง
  • พ.ศ. 2432 ฉลองวิหารวัดขี้เหล็กร่มหลวง และโปรดให้ซ่อมแซมพระธาตุดอยสุเทพ
  • พ.ศ. 2438 ถวายทานวิหารพระบาทสี่รอย และตั้งสังฆราชา 7 องค์

การศึกษา

ในช่วงสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ การศึกษาของชาวเชียงใหม่ยังคงดำเนินไปตามประเพณีโบราณ มีวัดเป็นแหล่งอบรมกุลบุตร เมื่อมีมิชชันนารีคือ ศาสนาจารย์แมคกิลวารี และครอบครัว ได้เข้ามายังนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2411 และได้เริ่มมีการให้การศึกษาแก่สตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 และจัดให้มีโรงเรียนสตรีขึ้นบริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำปิง (สะพานนวรัฐในปัจจุบัน) จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัย และได้จัดตั้งโรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ เมื่อปี พ.ศ. 2431 ปัจจุบันคือ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

นอกจากวิชาการนั้นแล้ว ยังมีการคิดหลักสูตรวิชาเลข วิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรล้านนา และมีตำรา "หนังสือฝากของพ่อครูศรีโหม้" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ให้เด็กได้รับรู้ถึงโลกกว้าง อีกทั้งยังมีการจัดตั้งโรงพิมพ์อักษรล้านนาในปี พ.ศ. 2435

การนาฏศิลป์

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นผู้ริเริ่มการนาฏศิลป์ไว้เป็นแบบฉบับที่ใช้กันทั่วไปในล้านนา โดยการจัดให้สตรีทั่วไปมาฝึกหัดเป็นนางละครในคุ้มเป็นครั้งแรก และถ่าทอดวิชานาฏศิลป์ไปยังเจ้าดารารัศมี พระราชชายา พระธิดา[4]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ