การบริหารปกครอง ของ พระเจ้าเอ็ดวี

เอ็ดวิกสืบทอดบัลลังก์แห่งอังกฤษต่อจากพระปิตุลาขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 15 ชันษา ทรงเริ่มรัชสมัยของพระองค์ด้วยการยืนกรานที่จะเป็นอิสระจากที่ปรึกษาคนสำคัญในรัชสมัยของพระมาตุลาและพระราชบิดา พระองค์ขับไล่ดันสตานออกจากประเทศและริบทรัพย์สินที่ดินที่เป็นของพระอัยยิกา เอ็ดจิฟู ผู้ที่เป็นพยานในกฎบัตรหลายฉบับของพระโอรสของพระนาง เอ็ดมุนด์และเอ็ดเร็ด พระองค์ไม่ได้กำจัดหัวหน้าผู้นำท้องถิ่น เอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง แต่ได้แต่งตั้งผู้นำท้องถิ่นคนใหม่ขึ้นมาปกครองดูแลพื้นที่ในส่วนของเมอร์เซียที่เอเธลสตานเคยดูแล

กฎบัตรจากปีค.ศ.956 เป็นผลของความพยายามของเอ็ดวิกที่จะสร้างฐานของบริวารที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ในหมู่ผู้คนใหม่ๆที่ได้รับการเลื่อนขั้นมีพระญาติของพระองค์อยู่หลายคนรวมถึงเอลเฟีย ผู้นำท้องถิ่นของเมอร์เซีย, เอลเฟีย พ่อบ้านของตระกูลที่ต่อมาได้เป็นผู้นำท้องถิ่นของเซ็นทรัลเวสเซ็กซ์ และเบิร์ทเฮล์ม บิชอปแห่งวินเชสเตอร์ ทั้งสามคนรวมถึงพระมเหสีของเอ็ดวิก เอลฟ์จิฟู ที่เป็นน้องสาวของเอเธลวาลด์ผู้เขียนพงศาวดาร อาจสืบเชื้อสายมาจากเอเธลเร็ดที่ 1 การเลื่อนขั้นให้กับกลุ่มพระญาติอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงการสร้างตระกูลที่ทรงอำนาจเหมือนของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่งและดันสตาน การอภิเษกสมรสของเอ็ดวิกกับเอ็ดจิฟูอาจเป็นสัญญาณที่เตือนเอ็ดการ์มากขึ้นไปอีก เหมือนเช่นการอภิเษกสมรสกับจูดิธของเอเธลวูล์ฟที่อาจสร้างความกังวลให้กับเอเธลบาลด์ในช่วงต้นศตวรรษ โอรสที่ประสูติจากการอภิเษกสมรสระหว่างพระบิดาและพระมารดาที่เป็นราชวงศ์อาจถูกมองว่าคู่ควรกับบัลลังก์มากกว่าตัวของเอ็ดการ์

กฎบัตรที่สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของเอ็ดวิกลงวันที่ปีค.ศ.956

เมื่อพิจารณาจากกฎบัตรจำนวนมากมายไม่ได้สัดส่วนที่ออกในช่วงรัชสมัยของพระองค์ เอ็ดวิกดูจะพระราชทานอภิสิทธิ์ให้อย่างฟุ่มเฟือยไร้เหตุผล และไม่นานนักผู้นำของชาวเมอร์เซียและนอร์ธัมเบรียก็สะอิดสะเอียดความลำเอียงที่มีให้เวสเซ็กซ์ของพระองค์และลุกขึ้นมาก่อกบฏ การก่อกบฏนำโดยพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดการ์ และอาร์ชบิชอปโอดาแห่งแคนเทอร์สบรีที่กษัตริย์แสดงออกว่าไม่โปรดปราน เอ็ดวิกเผชิญหน้ากับพวกเขาที่กลอสเตอร์แต่พ่ายแพ้และกองทัพของพระองค์หนีไป เอลฟ์จิว่าถูกทรมานและเกิดแผลเป็นที่เลวร้ายบนพระพักตร์ของพระนาง พระนางสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน ผลที่ได้คือในปีค.ศ.957 พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายเอ็ดการ์ ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์โดยชาวเมอร์เซียและชาวนอร์ธัมเบรีย อาณาจักรถูกแบ่ง แต่การแบ่งเป็นไปอย่างสงบ ผู้นำท้องถิ่นและบิชอปได้ทางเหนือของเธมส์ เธมส์กลายเป็นราชสำนักของเอ็ดการ์ และส่วนที่อยู่ทางใต้ของเธมส์เป็นราชสำนักของเอ็ดวิก แต่ชัดเจนว่าอำนาจโดยรวมทั้งหมดเป็นของเอ็ดวิก ในกฎบัตรของพระองค์ พระองค์ยังคงเป็น rex Anglorum กษัตริย์แห่งอังกฤษ ขณะที่เอ็ดการ์ถูกขนานนามว่า "กษัตริย์ของชาวเมอร์เซีย" และดูเหมือนว่าเหรียญของทั้งสองฝั่งของเธมส์เป็นพระนามของเอ็ดวิกจนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต ในด้านที่เป็นลบ เอ็ดวิกจำใจต้องยอมให้เอ็ดการ์เรียกตัวดันสตานกลับมาจากการถูกขับไล่ออกจากประเทศ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ