พระเจ้าแตงหวาน
พระเจ้าแตงหวาน

พระเจ้าแตงหวาน

สมเด็จพระองค์ชัย (เขมร: ព្រះបាទអង្គជ័យ) หรือที่รู้จักในพระนาม พระเจ้าตระซ็อกประแอม (พระเจ้าแตงหวาน) (เขมร: ត្រសក់ផ្អែម ) พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองพระนครหลวงทรงครองสิริราชสมบัติจาก ค.ศ. 1290 ถึง 1341 ในพระราชพงศาวดารซึ่งพระราชนิพพนธ์โดยสมเด็จนักองค์เอง[1] พระเจ้าแผ่นดินแห่งพระราชอาณาจักรเขมรในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ เมืองอุดงฦาไชย จังหวัดกำปงสปือ) กล่าวว่า สมเด็จพระองค์ชัย หรือ พระเจ้าแตงหวานนี้ เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์ของราชสกุลนโรดม และเป็นทรงเป็นผู้สร้างพระแสงหอกลำแพงชัย อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญมากที่สุดของของอาณาจักรกัมพูชาคู่กับ พระขรรค์ราช พระเจ้าแตงหวานมีชื่อเดิมว่าองค์ชัย พระราชบิดาเป็นเจ้าชายเชื้อพระวงศ์แห่งอาณาจักรจามปา เมื่อครั้งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรพระนครหลวงยกทัพหลวงจากลพบุรีเข้าโจมตีเมืองพระนครหลวงได้คืนจากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปาที่ปกครองพระนครหลวงแล้วยกทัพหลวงบุกต่อไปถึงอาณาจักรจามปา จนมีชัยชนะสามารถผนวกดินแดนจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิได้สำเร็จ เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือจามปา พระองค์ได้กวาดต้อนเชื้อพระวงศ์จามปา รวมถึงไพร่ทาสชาวจามปาเข้าเป็นเชลยเกณฑ์เป็นแรงงานสร้างปราสาทหิน เจ้าชายปทุมะแห่งจามปาผู้เป็นพระราชบิดา ได้ถูกกวาดต้อนมาในครั้งนี้ด้วย. ด้วยเป็นเชื้อพระวงศ์ที่สวามิภักดิ์จึงได้รับการดูแลเยี่ยงเชลยศักดิ์ ต่อมาพระองค์ได้ทูลขอเสด็จออกบวชเป็นพราหมณ์ขึ้นไปบำเพ็ญตบะอยู่บนเขาพนมกุเลน ส่วนพระนางโสภาวดีพระชายาทรงพระครรภ์ปลอมปนพระองค์อยู่กับเชลย เมื่อพระนางคลอดบุตรชายตั้งชื่อว่าองค์ชัย เป็นเด็กฉลาดและมีบุญญาธิการมากพออายุได้ 7 ปีมารดาให้ออกตามหาบิดาที่ออกบวชอยู่บนเขา บิดาได้มอบเมล็ดแตงให้ 3 เมล็ดและเหล็กอีกก้อนหนึ่งเชื่อว่าเป็นของวิเศษ องค์ชัยได้นำเมล็ดแตงมาปลูก ต่อมาเด็กเลี้ยงวัวมาเก็บกินพบว่ารสชาติดีมีรสหวานฉ่ำ องค์ชัยจึงหวงแตงนั้นมากวันหนึ่งมีวัวจะมากินแตงที่ปลูกไว้องค์ชัยได้นำเหล็กที่บิดามอบให้ขว้างใส่วัวจนทะลุตัววัวเสียชีวิต เรื่องราวของผลแตงหวานนั้นดังไปถึงหูพระราชาพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พระองค์จึงโปรดที่จะเสวยแตงนั้น เมื่อเสวยแล้วทรงโปรดปรานยิ่งนักจึงทรงแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสวนหลวง และโปรดให้นำเหล็กที่ขว้างวัวจนตายไปตีเป็นหอก ไว้ป้องกันโจรขโมยมาลักขโมยแตง พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ทรงพระราชทานพระแสงหอกลำแพงชัยนั้นให้เป็นอาญาสิทธิ์ อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ปรารถนาเสวยแตงขึ้นมากลางดึก จึงเสด็จลงไปในสวนจะไปเก็บแตงมาเสวย ซึ่งนายแตงหวานนึกว่าเป็นโจรมาลักแตง จึงขว้างพระแสงหอกลำแพงชัยอันเป็นอาญาสิทธิ์โดนพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ถึงแก่สวรรคต บรรดานาหมื่นสรรพมุขมนตรีทั้งหลายจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงพระนครหลวง ต่อมา[2]โดยเฉลิมพระนามหลังจากเสวยราชสมบัติว่า พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์ บรมมหาบพิตรธรรมิกมหาราชาธิราช (เขมร: ព្រះបាទ​សម្ដេច​មហាបពិត្រ​ ​ធម្មិក​រាជា​ធិរាជ​ ​ជា​អង្គម្ចាស់​ផែនដី​ក្រុង​កម្ពុជា​ធិបតី )และทรงรับพระนางจันทรวรเทวี(เขมร: វ្រះបាទជយវម៌្មទី៩) อันพระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 เป็นสมเด็จพระอัครมเหสี เรื่องราวตำนานของพระเจ้าแตงหวานนี้มีลักษณะแบบเดียวพระเจ้าญองอู้ ซอยะฮ่านแห่งราชวงศ์พุกาม นักวิชาการกัมพูชาเชื่อว่าการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตระซ็อกประแอมไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนและมีการเตรียมการไว้โดยพระปทุมราชาพระราชบิดาและเชลยทาสชาวจามปาที่ต้องการยึดอำนาจเพื่อปลดแอกจากพวกชนชั้นปกครอง เพราะหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์พระเจ้าตระซ็อกปะแอมได้ทำการกวาดล้างกลุ่มอำนาจเก่าจนเกือบสิ้น[3][4]

พระเจ้าแตงหวาน

พระราชบุตร พระบรมนิพพานบท
พระสิทธานราชา(หรือพระศิริรัตน์เขมร: ព្រះសិរីរតន៍)
ราชวงศ์ ราชวงศ์วรมัน แห่งจามปา
ก่อนหน้า พระเจ้าราชนคริน
(ราชวงศ์วรมัน แห่งขแมร์เมืองพระนครหลวง)
ครองราชย์ ค.ศ.1290 ถึง 1341
พระราชมารดา พระนางโสภาวดี(เขมร: ព្រះនាងសុភវត្តី)
พระราชบิดา พระปทุมราชา(เขมร: ព្រះបទុមរាជា)
สวรรคต ค.ศ. 1341
ถัดไป พระบรมนิพพานบท
(ราชสกุลตระซ็อกประแอม)
ประสูติ ค.ศ. 1221
ศาสนา พระพุทธศาสนาเถรวาท
คู่อภิเษก พระนางจันทรวรเทวี(เขมร: វ្រះបាទជយវម៌្មទី៩)
(พระราชธิดาในพระเจ้าราชนคริน.)

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ