พระราชประวัติ ของ พระเจ้าโมโม

สมเด็จพระเจ้าโมโมเป็นพระราชโอรสที่ปรากฏพระนามเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงากับพระราชมารดาที่ไม่ทราบพระนาม[2] เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นตูอีโตงาสืบต่อจากพระราชบิดานั้น พระองค์ได้ส่งราชทูตเลฮาอูลีสู่ของธิดาของโลเอา (ตูอิฮาอะเมอา) ซึ่งปกครองดินแดนอยู่ตอนกลางของเกาะโตงาตาปู[3] อย่างไรก็ตามโลเอาได้แจ้งแก่ราชทูตว่าธิดาของตนคือนูอานั้นได้แต่งงานและมีลูกแล้ว ในขณะที่ธิดาของตนอีกคนหนึ่งก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับสามีของนูอานั้นคือโงโงคิลิโตโต หัวหน้าของเผ่าฮาอะโงโงซึ่งอาศัยอยู่ที่มาลาโป[3] อย่างไรก็ตามพระเจ้าโมโมต้องการนูอามาเป็นพระมเหสี ซึ่งท้ายที่สุดโงโงคิลิโตโตจำเป็นต้องยอม นูอาจึงกลายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าโมโม[3]

สำหรับพระราชโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโมโมและพระมเหสีนูอาที่ปรากฏพระนามมี 2 พระองค์ดังนี้คือ[4]

  1. สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ
  2. เจ้าหญิงลาตูตามา

นอกจากนี้แล้วยังปรากฏนามบุตรคนสำคัญของนูอากับโงโงคิลิโตโตคือฟาซีอาปูเลซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าตูอิตาตูอิ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ