ดยุกแห่งซัคเซินและกษัตริย์แห่งเยอรมนี ของ พระเจ้าไฮน์ริชที่_1_แห่งเยอรมนี


ภาพพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ในพงศาวดารของจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 5 โดยนักพงศาวดารนิรนาม ปี ค.ศ. 1112/14

ปี ค.ศ. 912 หลังบิดาถึงแก่กรรม ไฮน์ริชขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นดยุกแห่งซัคเซิน พระองค์กับพระเจ้าค็อนราทที่ 1 มีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนัก พระเจ้าค็อนราทพยายามปราบกบฏไฮน์ริชแต่ก็ไม่เป็นผล การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเหนือทือริงเงิน อาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ติดกับซัคเซินและฟรังโกเนีย (ดัชชีของค็อนราท) สงบลงด้วยสนธิสัญญาโกรนา ปี ค.ศ. 915


อย่างไรก็ดีก่อนหน้าที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นาน ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้าค็อนราทได้กำหนดให้ไฮน์ริชเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ ไฮน์ริชได้รับการสดุดีเป็นกษัตริย์ที่ฟริตซลาร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 919 พระองค์ไม่ยอมรับการสวมมงกุฎจากคณะบิชอปเพราะต้องการรักษาความเป็นเอกราชจากคริสตจักร ทรงปกครองสหพันธ์ดัชชีที่ต่างก็มีเอกราชเป็นของตัวเองซึ่งประกอบด้วยสี่ดัชชีสำคัญ คือ ซัคเซิน, ฟรังโกเนีย, บาวาเรีย และชวาเบิน พระองค์มีอำนาจเหนือซัคเซินและฟรังโกเนีย แต่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์จากบาวาเรียและชวาเบิน


พระเจ้าไฮน์ริชมองเยอรมนีเป็นสหพันธ์ดัชชีมากกว่าประประเทศชาติ แม้พระองค์จะต้องการกอบกู้พระราชอำนาจที่ถูกดยุกของดัชชีต่างๆ ลิดรอนไป แต่ก็ทรงยินยอมให้ดยุกเหล่านั้นปกครองดัชชีของตนเอง ในปี ค.ศ. 919 ทรงบีบจนเบอร์ชาร์ด ดยุกแห่งชวาเบินยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจ แต่ก็ยินยอมให้เบอร์ชาร์ดบริหารปกครองดัชชีของตนต่อไป ในปีเดียวกันขุนนางของบาวาเรียและราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกได้เลือกอาร์นูล์ฟ ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี พระเจ้าไฮน์ริชได้ทำการสู้รบกับดินแดนทั้งสองและบีบจนอาร์นูล์ฟยอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจในปี ค.ศ. 921 แต่ก็ยินยอมให้อาร์นูล์ฟบริหารปกครองดัชชีบาวาเรียของตนต่อไปเช่นกัน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ