พระเยซูทรงจำแลงพระกาย
พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพระเยซูทรงจำแลงพระกาย[1](โปรเตสแตนต์) หรือพระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งเรือง[2] (คาทอลิก) (อังกฤษ: Transfiguration of Jesus) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูสำแดงพระองค์บนภูเขาลูกหนึ่ง (มัทธิว17:1-9, มาระโก 9:2-8, ลูกา 9:28-36) พระกายของพระเยซูมีรัศมีเรืองรอง และตรัสกับโมเสสและเอลียาห์ ขณะนั้นพระยาห์เวห์เรียกพระเยซูว่าเป็น “บุตรสุดที่รักของเรา” เหมือนตอนพระเยซูทรงรับบัพติศมา การจำแลงพระกายจึงทำให้พระองค์ดูเหนือกว่าโมเสสและเอลียาห์ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์ และเป็นการสนับสนุนในตัวพระองค์ว่าเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” แต่พระเยซูทรงสั่งให้ซีโมนเปโตร ยากอบ บุตรเศเบดี และยอห์นอัครทูต ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับจนกว่าพระองค์จะคืนพระชนม์หลังจากถูกตรึงที่กางเขน[3]การจำแลงพระกายถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การรับบัพติศมา การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์[4][5]คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดวันฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย"[6] ส่วนคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ กำหนดฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 19 สิงหาคมของทุกปี ตามปฏิทินจูเลียน โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระวรกาย"

ใกล้เคียง

พระเยซู พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา) พระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล) พระเยซูทรงจำแลงพระกาย พระเยซูถูกเฆี่ยน พระเยซูในสวนเกทเสมนี พระเยซูทรงทำนายถึงการทรยศพระองค์ พระเยซูและหญิงผิดประเวณี (เบรอเคิลผู้พ่อ) พระเยซูทรงรับบัพติศมา