ประวัติ ของ พระโกญจนาเนศวร์

พระโกญจนาเนศวร์หรือพระโกญจนาทเนศวร์ ปรากฏใน คัมภีร์นารายณ์ยี่สิบปาง อธิบายว่าพระโกญจนาเนศวร์เป็นบุตรของพระอิศวรและเป็นน้องชายของพระพิฆเนศ ดังเนื้อความ[4]

"ในไตรดายุคพระอิศวรมีเทวโองการให้พระเพลิงพระทำเทวฤทธิ์เพื่อบังเกิดศิวบุตร 2 องค์ พระเพลิงรับเทวโองการและกระทำเทวฤทธิ์ให้บังเกิดเป็นเปลวเพลิงออกจากช่องพระกรรณทั้งสอง เบื้องขวาบังเกิดบุตรที่มีพระพักตร์เป็นช้างคือพระคเณศ ส่วนเบื้องซ้ายบังเกิดเป็นเทวกุมารองค์หนึ่งชื่อพระโกญจนาเนศวร มีพักตร์เป็นช้าง 3 พระพักตร์ มีพระกร 6 พระกร แต่ละพระหัตถ์กำเนิดมีช้างประเภทต่าง ๆ เช่น ช้างเอราวัณ ช้างคีรีเมฆละไตรดายุค ช้างเผือกเอก เผือกตรี เผือกโท เป็นต้น"

ใน คัมภีร์นารายณ์ยี่สิบปาง และ ตำราช้าง ได้อธิบายรูปลักษณ์ของพระโกญจนาเนศวร์ไว้ตรงกันคือมีเศียรรูปช้างสามเศียร มีกรหกกร ในพระกรทั้งหกกรจะมีช้างชนิดต่าง ๆ ทั้งของโลกและสวรรค์ คือช้างเอราวัณ ช้างเผือกชนิดต่าง ๆ และสังข์ทักขิณาวัฏในพระกรขวา และสังข์อุตราวัฏโลกในพระกรซ้าย ประทับยืนอยู่บนศีรษะของช้างเจ็ดเศียร มีบทบาททางคชศาสตร์คือสร้างช้างเผือกสำหรับพระราชาบนโลกมนุษย์[3] พระโกญจนาเนศวร์นี้มีเทวลักษณะใกล้เคียงกับตรีมุขคณปติ (พระคณบดีสามพักตร์) ปรากฏใน ตำราตัตวนิธิ ของอินเดียใต้ แต่ไม่ปรากฏบทบาทเกี่ยวกับช้างแต่อย่างใด[3]

แต่เมื่อคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ออกแบบพระพินายให้มีเทวลักษณะอย่างพระพิฆเนศคือมีพระเศียรเดียว มีสี่พระกร โดยพระกรถือขอช้างอังกุศและบ่วงบาศ[1]