เชิงอรรถ ของ พระไตรปิฎกภาษาบาลี

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก. เข้าถึงเมื่อ 9-7-52
  2. เสถียร โพธินันทะ, ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์, มรดกธรรมของเสถียร โพธินันทะ, 2548, หน้า 82-3
  3. โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
    ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
    (สุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อ 141)
  4. โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
    (สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สังฆาฎิสูตร ข้อ 272)
  5. การทำสังคายนา คือการรวบรวมคำสอนทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ พร้อมจัดหมวดหมู่ให้จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวน สวดสาธยายพร้อมกันเพื่อเป็นแบบแผนในการทรงจำสืบต่อมา โดยคำว่า สังคายนา หรือ สังคีติ นี้ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สวดพร้อมกัน (สํ หมายถึง พร้อมกัน คายน หรือ คีติ หมายถึง การสวด)
  6. เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน ปาสาทิกสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
  7. เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน สังคีติสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
  8. จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ
    ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง (สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย)

ใกล้เคียง

พระไตรปิฎกภาษาจีน พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกภาษาทิเบต พระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย พระไตรโลกยวิชัย พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์) พระตำหนักในพระราชวังดุสิต พระไพศาล วิสาโล