โครงสร้างศักดินา ของ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน_นาทหาร_หัวเมือง

ศักดินาจำนวนผู้ถือศักดินาฐานะของผู้ถือศักดินา
100,0001พระมหาอุปราช , พระยุพราช
50,000ไม่ทราบจำนวนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม
40,000"-----"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ / ลูกยาเธอเจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม
20,000"-----"สมเด็จพระเจ้าน้องยา / น้องนางเธอ เจ้าฟ้าซึ่งมิได้ทรงกรม
15,000"-----"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ/ลูกยาเธอซึ่งมิได้ทรงกรม , พระเจ้าน้องยาเธอ/น้องนางเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม , พระเจ้าลูกเธอ/ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม
11,000"-----"พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม
10,00020เจ้าพระยาอัครมหาสนาบดี , เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม , เจ้าพระยา(ชั้นสุพรรณบัฎ)
7,000"-----"พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าซึ่งมิได้ทรงกรม
6,000"-----"พระเจ้าลูกเธอ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งไม่ทรงกรม
5,0002
4,000"-----"สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า ซึ่งได้ทรงกรม
3,00065ขุนนางระดับกลาง
2,4005ขุนนางระดับกลาง
2,00010ขุนนางระดับกลาง
1,60025
1,5002หม่อมเจ้า
1,40018
1,20014
1,00074พระสนมเอก , ขุนนางชั้นพระ - พระยา , หม่อมราชนิกุล
80017ขุนนางชั้น พระ
600331ขุนนางชั้น พระ
500151หม่อมราชวงศ์
400397หม่อมหลวง
รวม+1,210

ภริยาของขุนนางที่เป็นภรรยาพระราชทาน หรือภรรยาหลวงถือศักดินาครึ่งหนึ่งของสามี อนุภรรยามีศักดินาครึ่งหนึ่งของภรรยาหลวง ภรรยาทาสที่มีบุตรแล้วศักดินาเท่ากับอนุภรรยา

สามเณรรู้ธรรม(คือสอบได้เปรียญ)ศักดินา 300 สามเณรไม่รู้ธรรม 200 พระภิกษุรู้ธรรมศักดินา 600 พระภิกษุไม่รู้ธรรมศักดินา 400 พระครูรู้ธรรมศักดินา 2,400 พระครูไม่รู้ธรรม ศักดินา 1,000 พราหม์มีความรู้ด้านศิลปศาสตร์ศักดินา 400 พราหม์ทั่วไปศักดินา 200 ตาปะขาวรู้ธรรมศักดินา 200 ตาปะขาวไม่รู้ธรรมศักดินา 100

นอกจากนี้ยังกำหนดไว้ว่า ไพร่ (ประชาชนทั่วไป) มีศักดินา 10-25 ไร่ ทาส,ขอทาน มีศักดินา 5 ไร่

ศักดินานี้ ไม่ใช่จำนวนที่นาที่ถือครองจริงๆ เป็นเพียงแต่ตัวเลขจัดลำดับชั้น (Ranking)ของประชาชนในราชอาณาจักร เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรม การถือครองที่นาเป็นเครื่องชี้ฐานะของคนในสังคม ดังนั้น ระบบการจัดลำดับชั้นของสังคม จึงใช้การนับจำนวนนาเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจง่ายในบริบทและโครงสร้างสังคมสมัยนั้น ส่วนจำนวนการถือครองที่นาจริงๆ นั้นเป็นทรัพย์สิน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบศักดินา ดังจะเห็นได้ว่า ทาสและขอทาน หรือพระภิกษุก็มีการกำหนดศักดินาไว้ ศักดินาจึงไม่ใช่สิทธิในการถือครองที่ดิน

ศักดินานี้มีความสำคัญทางกฎหมายเนื่องจากใช้ในการปรับไหม ในทางศาลในคดีละเมิด เช่นหากผู้มีศักดินาสูงละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยเป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน และหากผู้มีศักดินาต่ำไปละเมิดผู้มีศักดินาสูง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยสินไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า ดังนั้นศักดินาจึงใช้วัด "ค่า" ของคนในสังคมในยุคนั้นในระบบกฎหมายของรัฐ

กฎหมายที่กำหนดศักดินาในสังคมไทยได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระไอยการตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ.๑๑๗๓(กฎหมายตราสามดวง ฉบับจัดพิมพ์โดยมหาวิทยลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๔๒๔) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาทูต (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ หน้า ๓๑๘) พระราชบัญญัติตำแหน่งศักดินาพระบรมวงศานุวงศ์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ หน้า ๒๖๕) พระราชบัญญัติศักดินาทหาร(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๒๑) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาผู้พิพากษาและข้าหลวง(ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๙ แผ่นที่ ๒๔) พระราชบัญญัติศักดินาขุน หมื่น นายเวร เสมียน (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ แผ่นที่ ๓๐) รายละเอียดเพิ่มเติมค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา

บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

ใกล้เคียง

พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง พระอภัยมณี พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย พระอินทร์ พระอานนท์ พระไตรปิฎกภาษาจีน พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระอารามหลวง พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์)