ภาพรวม ของ พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

ผู้พัฒนา DBT ดร. ไลน์แฮนได้สังเกตเห็นความหมดไฟของนักบำบัด หลังจากช่วยคนไข้ที่ไม่ต้องการรักษาผู้ไม่ให้ความร่วมมือแม้ในโปรแกรมการรักษาที่มีผลความเข้าใจหลักแรกของเธอก็คือ คนไข้ที่คิดฆ่าตัวตายอย่างเรื้อรังที่เธอศึกษาโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทำให้รู้สึกว่าตนมีค่า และดังนั้น จำต้องได้ความเมตตาและการยอมรับแบบไม่มีเงื่อนไขบ้าง เพื่อจะมีความสัมพันธ์กับผู้บำบัดเพื่อรักษาให้สำเร็จผล[lower-alpha 1]ความเข้าใจอย่างที่สองก็คือ การต้องได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันจากคนไข้ ผู้ที่ต้องยอมรับได้ว่า ตนมีปัญหาทางอารมณ์ที่แย่มาก

DBT พยายามจัดให้คนไข้มองผู้บำบัดว่าเป็นมิตรแทนที่จะเป็นศัตรูในการบำบัดปัญหาทางใจเพราะฉะนั้น ผู้บำบัดจึงพยายามยอมรับและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกคนไข้ โดยยังต้องให้ข้อมูลได้ว่า ความรู้สึกหรือพฤติกรรมเช่นไรเป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) และแสดงทางเลือกที่ดีกว่า[4]

ดร. ไลน์แฮนและนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ รวมการให้ความร่วมมือจากคนไข้กับหลักของวิธีการบำบัดแบบยอมรับแล้วเปลี่ยน (Acceptance and commitment therapy) โดยวิภาษวิธี (ซึ่ง บทตั้ง + บทแย้ง → บทสังเคราะห์ [thesis + antithesis → synthesis]) และสร้างทักษะต่าง ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามหลักจิตวิทยาชาวตะวันตก รวมทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ assertiveness training (การฝึกยืนหยัดที่จุดยืนของตน) และหลักเจริญกรรมฐานของชาวตะวันออก เช่น การเจริญสติของศาสนาพุทธสิ่งที่เธอเพิ่มให้กับสาขาก็คือการเปลี่ยนความสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากันของผู้บำบัด-คนไข้ โดยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ตั้งอยู่ในฐานของหลักความรักความเมตตาประกอบกับความเข้มงวด (tough love)DBT ทุกแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

  • การรักษาส่วนบุคคล - ผู้บำบัดและคนไข้จะสนทนากันเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในอาทิตย์ที่ผ่านมา (ที่บันทึกลงในบัตรประจำวัน) โดยกล่าวไปตามลำดับความสำคัญในการบำบัด พฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่อันตรายต่อชีวิต สำคัญสูงสุด อย่างที่สองก็คือพฤติกรรมที่แม้ไม่มีผลลบโดยตรงต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ขัดขวางกระบวนการรักษา ซึ่งเรียกว่าพฤติกรรมรบกวนการรักษา (Therapy interfering behavior) อย่างที่สามก็คือปัญหาคุณภาพชีวิต โดยทำการเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตทั่วไป ในระหว่างการรักษาส่วนบุคคล ผู้บำบัดและคนไข้จะทำการเพื่อเพิ่มการใช้ทักษะ บ่อยครั้ง จะสนทนาเรื่องทักษะและอุปสรรคในการใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • การรักษาเป็นกลุ่ม - กลุ่มปกติจะพบกันครั้งหนึ่งต่ออาทิตย์เป็นเวลา 2-2 1/2 ชม. แล้วเรียนรู้การใช้ทักษะโดยเฉพาะต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็น 4 หน่วย คือ (1) สติ (2) ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ และ (4) การอดทนต่อความทุกข์
  • กลุ่มผู้บำบัด - รวมผู้บำบัดทุกคนที่ให้ DBT ผู้ประชุมกันทุกอาทิตย์เพื่อให้ความสนับสนุนการบำบัด
  • การฝึกสอนทางโทรศัพท์ - ออกแบบเพื่อช่วยให้คนไข้ใช้ทักษะในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะคุยสั้น ๆ และจำกัดในเรื่องทักษะ

ไม่มีองค์ประกอบใดที่ใช้ต่างหาก เพราะว่าทุกองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมไม่ให้แรงกระตุ้นในการฆ่าตัวตายหรือปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ ขัดขวางวิถีการดำเนินของกลุ่ม ในช่วงที่การรักษาโดยกลุ่มสอนทักษะต่าง ๆ ที่เฉพาะต่อ DBT และช่วยฝึกหัดควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ทางสังคม

ใกล้เคียง

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี พฤติการณ์ที่ตาย พฤติกรรม พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์ พฤติกรรมนิยม พฤติกรรมวิทยา พฤติกรรมดูแลและผูกมิตร พฤติกรรมทางเพศของเกย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี http://www.baojournal.com/JOBA-OVTP/JOBA-OVTP-VOL-... http://cogbtherapy.com/los-angeles-dbt http://www.dbtselfhelp.com/DBTinaNutshell.pdf http://www.dbtselfhelp.com/html/dbt_skills_list.ht... http://www.nytimes.com/2008/05/06/health/06brod.ht... http://www.priory.com/dbt.htm http://psychcentral.com/lib/an-overview-of-dialect... http://suffolkdbt.com/dbt-and-relationships-suffol... http://courses.washington.edu/chile08/Linehan4.pdf //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21114345