การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ ของ พลังงานนิวเคลียร์

การใช้พลังงานของโลกในอดีตและที่คาดการณ์ไว้เรียงตามแหล่งพลังงาน, 1990-2035, ที่มา: การคาดการณ์ด้านพลังงานนานาชาติ 2011, EIAพลังงานนิวเคลียร์กำลังการผลิตและการผลิตจริง ระหว่างปี 1980-2011 (EIA)แนวโน้มในห้าอันดับแรกของประเทศผู้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์ (ข้อมูล EIA สหรัฐอเมริกา)สถานะภาพของพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก
(คลิกที่ภาพเพื่อดูเรื่องราว)ร้อยละของพลังงานที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ดูเพิ่มเติม: en:Nuclear power by country และ en:List of nuclear reactors

ในปี 2011 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิต 10% ของกระแสไฟฟ้าของโลก[83] ในปี 2007, IAEA รายงานว่า มีเครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ 439 เครื่องกำลังปฏิบัติงานในโลก[84] ใน 31 ประเทศ[4]. แต่อย่างไรก็ตาม หลายประเทศในขณะนี้ได้หยุดการดำเนินงานอันเนื่องมาจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่า ในขณะที่พวกเขามีการประเมินในด้านความปลอดภัย. ในปี 2011 การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกลดลง 4.3 % เป็นการลดลง ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์, ตามหลังการลดลงอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น(-44.3%) และ เยอรมนี (-23.2%)[85].

ตั้งแต่พลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1950, ปี 2008 เป็นปีแรกที่ ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ที่ถูกเชื่อมต่อกับกริด แม้ว่าจะมีสองเครื่องได้รับการเชื่อมต่อในปี 2009[86][87].

การผลิตต่อปีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007, ลดลง 1.8% ในปี 2009 ลงมาที่ 2558 TWh หรือเพียง 13-14% ของความต้องการไฟฟ้าของโลก[88]. ปัจจัยหนึ่งในการลดลงของพลังงานนิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2007 คือเนื่องจากการปิดเป็นเวลานานของเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki - Kariwa ในประเทศญี่ปุ่นหลังจากแผ่นดินไหวที่ นีงะตะ-Chuetsu-โอกิ.Kashiwazaki - Kariwa[88].

สหรัฐอเมริกาผลิตพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดด้วยพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 19%[89] ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้. ในขณะที่ฝรั่งเศสผลิตเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดของพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถึง 80% ณ ปี 2006[90]. ในสหภาพยุโรปโดยรวม, พลังงานนิวเคลียร์ผลิตได้ 30% ของไฟฟ้า[91]. นโยบายพลังงานนิวเคลียร์มีความแตกต่างในระหว่างประเทศของสหภาพยุโรป และบางส่วนเช่น ออสเตรีย, เอสโตเนีย, ไอร์แลนด์ และอิตาลี ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่. ในการเปรียบเทียบ ฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้จำนวนมาก, ที่มี 16 สถานีที่มีเครื่องปฏิกรมากกว่าหนึ่งเครื่องในการใช้งานในปัจจุบัน

ในสหรัฐอเมริกา, ในขณะที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าจากถ่านหินและก๊าซ คาดว่าจะมีมูลค่า $ 85 พันล้านในปี 2013, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า $ 18 พันล้าน[92].

เรือทหารจำนวนมากและเรือพลเรือนบางลำ (เช่น เรือตัดน้ำแข็งบางลำ) ใช้การขับเคลื่อนด้วยนิวเคลียร์[93]. ยานอวกาศบางลำถูกยิงขึ้นโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เต็มรูปแบบ. มีเครื่องปฏิกรณ์ 33 ชุดเป็นของสหภาพโซเวียต, RORSAT และอีกหนึ่งชุดเป็นของสหรัฐ, SNAP-10A.

การวิจัยนานาชาติยังมีการทำอยู่อย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงด้านความปลอดภัยเช่น ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าแบบพาสซีฟ[94], การใช้นิวเคลียร์ฟิวชัน และการใช้ที่เพิ่มขึ้นของความร้อนในกระบวนการ เช่นการผลิตไฮโดรเจน (ในการสนับสนุนของเศรษฐกิจไฮโดรเจน), การแยกเกลือจากน้ำทะเลและ การใช้งานในระบบเขตร้อน (อังกฤษ: district heating system).

ใช้ในอวกาศ

บทความหลัก: en:Nuclear power in space

ทั้งปฏิกิริยาฟิชชันและฟิวชั่นปรากฏว่าเป็นโอกาศสำหรับการใช้งานสำหรับขับเคลื่อนยานที่ใช้ในอวกาศเพื่อสร้างความเร็วที่สูงกว่าในการปฏิบัติภารกิจที่มีมวลปฏิกิริยา (อังกฤษ: reaction mass) น้อย. สิ่งนี้เนื่องจากความหนาแน่นของพลังงานที่สูงขึ้นมากของปฏิกิริยานิวเคลียร์: มีค่ามากกว่าเป็นเลข 7 หลัก (10,000,000 เท่า) ที่มีพลังมากขึ้นกว่าปฏิกิริยาเคมีที่ให้พลังงานกับจรวดปัจจุบัน.

การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (อังกฤษ: Radioactive Decay) ได้ถูกนำมาใช้ในระดับที่ค่อนข้างเล็ก (ไม่กี่กิโลวัตต์) ซึ่งส่วนใหญ่ให้พลังกับภารกิจและการทดลองในอวกาศโดยใช้เครื่องกำเนิดเทอร์โมอิเล็กทริกเรดิโอไอโซโทป (อังกฤษ: radioisotope thermoelectric generator) เช่น การพัฒนาในห้องปฏิบัติการแห่งชาติไอดาโฮ.

แหล่งที่มา

WikiPedia: พลังงานนิวเคลียร์ http://books.google.com.au/books?hl=en&id=SeMNAAAA... http://books.google.com.au/books?id=C5W8uxwMqdUC&p... http://books.google.com.au/books?id=Kn6YhNtyVigC&p... http://books.google.com.au/books?id=lR0n6oqMNPkC&d... http://books.google.com.au/books?id=tf0AfoynG-EC&d... http://www.smh.com.au/business/carbon-economy/scot... http://www.smh.com.au/world/is-this-the-end-of-the... http://www.theage.com.au/news/national/nuclear-pow... http://www.theage.com.au/opinion/politics/no-nukes... http://www.uic.com.au/reactors.htm