การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการลดต้นทุน ของ พลาสติกกันกระแทก

ในปี 2558 Sealed Air ได้ตัดสินใจที่จะสร้างพลาสติกกันกระแทกแบบใหม่ เรียกในขณะนั้นว่า iBubble ซึ่งจะไม่สามารถบีบแตกได้ ปัจจุบันมีการใช้งานพลาสติกกันกระแทกแบบใหม่นี้อย่างแพร่หลายที่เรียกว่า ถุงพองลมกันกระแทก (Inflatable air cushion) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ทำจากแผ่นพลาสติกประกบกันและสูบลมเข้าไปให้ขยายใหญ่ขึ้นเมื่อจะใช้งาน เพื่อประหยัดพื้นที่ในการเก็บ ลดค่าขนส่งและค่าเก็บรักษาที่สูงแบบพลาสติกกันกระแทก(แบบฟอง)[10] และยังอาจสามารถนำกลับมาใช้ได้หลายรอบ ต่างจากพลาสติกกันกระแทกที่เมื่อกระเปาะอากาศเสียหายจะไม่สามารถกันกระแทกได้อย่างเดิม[11] ถุงพองลมกันกระแทกช่วยในการลดปริมาณการใช้พลาสติกในการผลิตบรรจุภัณฑ์กันกระแทกได้มากกว่าแผ่นพลาสติกกันกระแทก เนื่องจากกระเปาะอากาศของถุงพองลมที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า ช่วยลดการใช้ซ้ำ ๆ หลายชั้นหรือในการเติมเต็มช่องว่างในกล่องพัสดุ

อย่างไรก็ตาม พลาสติกกันกระแทกนับเป็นส่วนหนึ่งของขยะบรรจุภัณฑ์ (packing waste) ที่รวมถึงขวดพลาสติก ภาชนะอาหารพลาสติก ถุงพลาสติก ซึ่งขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีสัดส่วนเป็นอันดับต้นของขยะพลาสติก ที่มีปริมาณมากถึง 146 ล้านตันโดยประมาณในปีค.ศ. 2015[12] และคาดว่าจะมีปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นมากจากรูปแบบการค้าปลีกออนไลน์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ ที่ต้องอาศัยการจัดส่งพัสดุแบบแบ่งย่อยเป็นจำนวนมาก

พลาสติกกันกระแทกสามารถนำกลับไปฝช้เป็นวัสดุพลาสติกได้ (รีไซเคิล) เช่นเดียวกับขวดพลาสติก และภาชนะพลาสติก ซึ่งต้องการการจัดการเก็บรวบรวมกลับสู่ขบวนการรีไซเคิลตามปกติ ในลักษณะเดียวกับการเก็บรวบรวมกระดาษ แต่พลาสติกกันกระแทกบางประเภทยังไม่สามารถรีไซเคิลตามปกติโดยตรง คือ ซองกันกระแทก ซึ่งเป็นส่วนผสมของกระดาษและแผ่นพลาสติกกันกระแทกซึี่งต้องใช้แรงงานในการแยกส่วน และมีบางส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เลย อย่างไรก็ตามพลาสติกกันกระแทกมีข้อดีกว่าแผ่นโฟมห่อพัสดุ เนื่องจากโฟมมีความหนาแน่นต่ำซึ่งทำให้รีไซเคิลได้ยาก และคุณสมบัติน้ำหนักเบาที่ต้องใช้พื้นที่มากกว่าในกระบวนการจัดเก็บก่อนการรีไซเคิล[6]

ในการตัดวงจรขยะพลาสติก มีการคิดค้นกระดาษรังผึ้งสำหรับกันกระแทก (Honeycomb Cushioning Wrap Perforated-Packing) ซึ่งเป็นกระดาษกันกระแทกที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาให้ใช้งานได้ง่าย โดยเป็นกระดาษห่อ จัดเก็บได้ในพื้นที่จำกัด เมื่อใช้งานโดยดึงขยายแผ่นกระดาษออกและที่ปรุไว้จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสามมิติมีรูปทรงคล้ายรังผึ้ง (ซึ่งต่างจากกระดาษลูกฟูกที่ตายตัวจากโรงงานและมีลักษณะเป็นลอน) [13][14] สามารถรองรับการใช้งานในลักษณะของการห่อได้ในแบบเดียวกับแผ่นพลาสติกกันกระแทก

แหล่งที่มา

WikiPedia: พลาสติกกันกระแทก http://www.packagingknowledge.com/bubble_film_bags... http://www.sealedairprotects.com/NA/EN/products/bu... http://www.yourdictionary.com/bubble-pack https://3dprintingindustry.com/news/the-hype-and-r... https://www.catdumb.com/goodbye-bubblewrap/ https://www.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%... https://trademarks.justia.com/733/26/bubble-733260... https://trademarks.justia.com/787/29/bubblewrap-78... https://th.solidsprout.com/post/greenwrap https://web.archive.org/web/20110124145311/http://...