พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือ พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า[8](อังกฤษ: plantar fasciitis) หรือ โรครองช้ำ เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้าและฝ่าเท้า[2] ส่วนใหญ่จะเจ็บมากที่สุดในการลงน้ำหนักที่เท้าครั้งแรกของวันหลังตื่นนอนหรือหลังจากการได้พักเป็นระยะเวลาหนึ่ง[4] อาการเจ็บอาจถูกกระตุ้นได้โดยการกระดกเท้าขึ้น และอาจเจ็บมากขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งตึง[4][3] อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็น[3] ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะเป็นที่เท้าทั้งสองข้าง[2] ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้มีไข้และไม่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน[3]สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเช่นการยืนนานๆ การออกกำลังกายมาก และความอ้วน[2] นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการมีเท้าบิดเข้าใน และพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย[2][4] แม้จะมีการพบปุ่มงอกกระดูกส้นเท้าร่วมกับภาวะนี้บ่อยครั้งแต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปุ่มงอกนี้มีบทบาทในการทำให้เกิดภาวะนี้หรือไม่ ภาวะพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้านี้ถือเป็นโรคของจุดเกาะเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดขนาดเล็ก คอลลาเจนเสื่อมสภาพ และเกิดแผลเป็น[2] ดังนั้นการอักเสบจึงมีบทบาทน้อยในการเกิดภาวะนี้ จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อภาวะนี้จาก plantar fasciitis เป็น plantar fasciosis ("โรคของพังผืดที่ฝ่าเท้า")[2][9] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจทำอัลตราซาวนด์ช่วยในการวินิจฉัย[2] ภาวะอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันได้เช่น โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด กลุ่มอาการแผ่นไขมันฝ่าเท้า โรคข้อแบบปฏิกิริยา เป็นต้น[5][6]ภาวะนี้ส่วนใหญ่หายได้โดยใช้เวลาและการรักษาแบบอนุรักษ์[4][7] ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้เท้า เปลี่ยนกิจกรรม ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น และยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น หากยังบรรเทาอาการไม่ได้อาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น กายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การดาม หรือการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น หากยังไม่ได้ผลอีก อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก[4]

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

อาการ อาการเจ็บปวดในส้นเท้าและใต้เท้า[2]
สาขาวิชา ออร์โธพีดิกส์, แพทยศาสตร์การกีฬา, ศัลยศาสตร์พลาสติก, พอเดียทริกส์
ความชุก ~4%[2][5]
สาเหตุ ไม่ทราบชัดเจน[2]
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ, อัลตราซาวด์[2]
ปัจจัยเสี่ยง การใช้งานมากเกิน (เช่นยืนนาน), โรคอ้วน, การโพรเนทเท้า[2][4]
การรักษา จัดการแบบอนุรักษ์[4][7]
การตั้งต้น ค่อยเป็นค่อยไป[3]
ชื่ออื่น โรครองช้ำ, Plantar fasciosis, plantar fasciopathy, jogger's heel, heel spur syndrome[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคข้อกระดูกอักเสบ, ankylosing spondylitis, heel pad syndrome, reactive arthritis[5][6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ http://www.diseasesdatabase.com/ddb10114.htm http://www.emedicine.com/orthoped/topic142.htm http://www.emedicine.com/pmr/topic107.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21916393 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22010770 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23798950 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24559879 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24860133 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25103701