ความเสียหาย ของ พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา

พายุไต้ฝุ่นลินดาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและขึ้นฝั่งที่อำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อเวลา ประมาณ 01:00 ของวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

พายุลินดาทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องหลายวัน เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี และกาญจนบุรี โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีลมพัดแรงจัดจนบ้านเรือนเสียหายและต้นไม้ โค่นล้มในหลายอำเภอ[1] ส่งผลกระทบต่อประชาชน 461,263 คนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน สูญหาย 2 คน บาดเจ็บ 20 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 9,248 หลัง ถนนเสียหาย 1,223 แห่ง ฝาย-ทำนบเสียหาย 40 แห่ง สะพานชำรุด 20 แห่ง สาธารณประโยชน์ 58 แห่ง มูลค่าความเสียหายรวม 213,054,675 บาท[4] นอกจากนี้ยังมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ซัดเรือประมงอับปางกว่า 50 ลำ[5]

จากการวิจัยแบบจำลองการพยากรณ์แนวทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา พบพายุไต้ฝุ่นเพียง 2 ลูกเท่านั้นที่ผ่านเข้ามาในบริเวณอ่าวไทย คือ พายุไต้ฝุ่นเกย์ และพายุไต้ฝุ่นลินดา[6]

ใกล้เคียง

พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555) พายุโซนร้อนแฮเรียต พายุโซนร้อนเมกี (พ.ศ. 2565) พายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560) พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา พายุโซนร้อนวาชิ (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงเลกีมา พายุโซนร้อน