พายุไซโคลนโอนิล
พายุไซโคลนโอนิล

พายุไซโคลนโอนิล

พายุโซโคลนกำลังแรงโอนิล (รหัสเรียกของ IMD: ARB 03; รหัสเรียกของ JTWC: 03A) เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับการตั้งชื่อในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ชื่อ โอนิล (เบงกอล: অনিল, อนิละ) เป็นชื่อที่ถูกส่งมาจากประเทศบังกลาเทศ พายุไซโคลนโอนิลก่อตัวขึ้นจากบริเวณการพาความร้อนที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้หลายร้อยกิโลเมตรจากประเทศอินเดียในวันที่ 1 ตุลาคม ตัวพายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีกำลังสูงสุดในวันที่ 2 ตุลาคม ด้วยความเร็วลม 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 990 มิลลิบาร์ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยอากาศแห้งที่พัดเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็ว ทำให้พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุดีเปรสชัน บริเวณนอกชายฝั่งรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย หลายวันต่อมา ระบบพายุที่มีทิศทางการเคลื่อนตัวเอาแน่ไม่ได้ได้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพายุได้พัดขึ้นฝั่งใกล้กับนครปอร์บันดาร์ ในวันที่ 10 ตุลาคม และสลายตัวไปไม่นานหลังจากนั้นตลอดทั้งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศปากีสถานและตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ประชาชนนับพันคนถูกอพยพออกไปก่อนที่พายุไซโคลนจะมาถึง ในบริเวณเหล่านั้น พายุได้สร้างปริมาณฝนปานกลางถึงหนัก ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่ 145 มิลลิเมตร (5.7 นิ้ว) ในนครธัตตะ แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน ปริมาณน้ำฝนสะสมเหล่านี้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับพายุในการาจี ระบบระบายน้ำของเมืองไฮเดอราบาดได้รับความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดการประท้วงและการเดินขบวนของชาวเมืองจำนวนมาก บริเวณนอกชายฝั่ง เชื่อกันว่าชาวประมง 300 คน ได้สูญหายไปในระหว่างเกิดพายุ ทั้งนี้ไมมีรายงานยืนยันว่าพวกเขาหายไปไหน

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)