ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไซโคลนโอนิล

แผนที่แสดงเส้นทางและความรุนแรงของพายุตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน

พายุไซโคลนกำลังแรงโอนิล ได้รับการระบุครั้งแรกเป็นพื้นที่การพาความร้อนในช่วงต้นของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 อยู่ห่างจากมุมไบ ประเทศอินเดีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นระบบที่มีการจัดระบบไม่ดีนัก กับมีการพาความร้อนระดับลึกในบางส่วนรอบ ๆ การไหลเวียนระดับต่ำ โดยขณะนั้นระบบตั้งอยู่บนน้ำอุ่นและบริเวณที่มีลมเฉือนปานกลาง[1] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินว่าระบบมีโอกาสพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ "พอใช้"[2] ในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมีการระบุครั้งแรกไปแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) เริ่มติดตามระบบในฐานะพายุดีเปรสชัน ARB 03[3] แม้ว่าการพาความร้อนจะลดลงในช่วงท้ายของวันที่ 30 กันยายน[1] แต่ IMD ก็ปรับให้ ARB 03 เป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว เนื่องจากมีความเร็วลมต่อเนื่องในสามนาทีรอบศูนย์กลางถึง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[3] ช่วงต้นของวันถัดมา การจัดระบบของพายุดีขึ้น[1] ทำให้ JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[2] ต่อมาเวลาประมาณ 09:00 UTC ของวันที่ 1 ตุลาคม IMD ปรับให้ระบบเป็นพายุไซโคลน และให้ชื่อว่า โอนิล[3] ทำให้พายุนี้กลายเป็นพายุลูกแรกที่ได้รับการตั้งชื่อในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ตามที่ตกลงกันไว้ในนามคณะทำงาน WMO/ESCAP ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ว่าในเดือนกันยายน หากมีพายุหมุนเขตร้อนใดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ที่มีกำลังลมถึงกำหนดจะมีการตั้งชื่อตามที่กำหนดไว้[4]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)