การเตรียมการและผลกระทบ ของ พายุไต้ฝุ่นกูโชล_(พ.ศ._2555)

กูโชลขณะกำลังขึ้นปกคลุมญี่ปุ่นในวันที่ 19 มิถุนายน

แม้ว่าไต้ฝุ่นกูโชลยังคงอยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ เนื่องจากระบบเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ทำให้เสริมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง

วันที่ 18 มิถุนายน JMA ประกาศในรายงานว่าไต้ฝุ่นอยู่ห่างจากนะฮะไปทางทิศใต้ประมาณ 450 กิโลเมตร ก่อนที่จะปกคลุมทั่วญี่ปุ่น ในวันที่ 19 มิถุนายน[1] ไม่นานหลังจากนั้นบริเวณชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มมีลมพัดแรงกว่า 144 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (89 ไมล์ต่อชั่วโมง)

เจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นสั่งอพยพผู้คนกว่า 150,000 คน ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำนักข่าวเคียวโดะ มีการประกาศเตือนภัยอันตรายจากดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก กว่า 452 เที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศถูกยกเลิก มีผู้เดือนร้อนกว่า 35,000 คน รถไฟฟ้าความเร็วสูงมีความล่าช้าและถูกยกเลิก ถนนบางสายถูกปิดการจราจร

ในจังหวัดชิซุโอะกะ มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นชายหนึ่งคนจากเพิงเก็บของถล่ม ในขณะที่ 52 คนได้รับบาดเจ็บในหลายจังหวัด

จากกูโชล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทั่วประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายทางเศรษฐกิจตีเป็นเงินกว่า 8 พันล้านเยน (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[2]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)