มรสุม
มรสุม

มรสุม

มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือ ลมประจำฤดู สาเหตุใหญ่ ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในชั้นบรรยากาศ และวัฎจักรของฝน เนื่องจากความไม่เท่ากันของการรับและคายความร้อนของพื้นดินและน้ำ[1][2] โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ใช้บรรยายช่วงของฤดูกาลเปลี่ยนแปลงที่มีฝนตก ในระดับโลกสามารถที่จะจำแนกมรสุมได้เป็น มรสุมแอฟริกันตะวันตก และ มรสุมเอเชียออสเตรเลีย คำว่า “มรสุม” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ในอินเดียของบริเตน (ปัจจุบันคือ อินเดีย บังกลาเทศ และ ปากีสถาน) เพื่อสื่อถึงลมประจำฤดูกาลที่พัดจากอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับนำพาฝนคะนองเข้าไปสู่บริเวณอินเดียของบริเตน[3][4]คำว่า "มรสุม" หรือ monsoon ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า موسم [mausem] ในภาษาอารบิก แปลว่า ฤดูกาล