ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2553)

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นชบา

  • วันที่ 21 ตุลาคม ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งทำให้มีฝนตกลงมาที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก และหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา พายุได้ก่อตัวขึ้นห่างอยู่ประมาณ 850 กิโลเมตร (530 ไมล์) ทางตอนใต้ของอิโวะจิมะ และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำ และมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอุ่น
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่เหนือน่านน้ำเปิดทางตะวันตกเฉียงเหนือ และไม่มีภัยคุกคามต่อแผ่นดิน ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกข้อมูลอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านเหนืออวกาศ พายุตั้งอยู่ประมาณ 1,400 กิโลเมตร (870 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดเพื่อวัดอุณหภูมิของพายุ และดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพอุณหภูมิสูงสุดของเมฆพายุดีเปรสชันเขตร้อนเผยให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงบางแห่งที่อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ -53 องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้จุดศูนย์กลางของพายุ ข้อมูลดาวเทียมมีข้อบ่งชี้ว่าศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำถูกลมภายนอกพัดเข้ามา และนั่นเป็นสัญญาณว่าพายุอาจจะอ่อนกำลังลงมากขึ้นในระยะสั้น การพาความร้อนที่รุนแรงที่สุด หรือเมฆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์กลางการไหลเวียน
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า กาตริง
  • วันที่ 24 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 1] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 2] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 25 ตุลาคม พายุโซนร้อนชบาตั้งอยู่ประมาณ 970 กิโลเมตร (600 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 6 เมตร ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุเพื่อถ่ายภาพอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุด้วยเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศ และเผยให้เห็นว่าอุณหภูมิของเมฆมีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส นั้นแสดงว่ามีการหมุนเวียนของลมบริเวณทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก ยิ่งอุณหภูมิของเมฆเย็นลง พายุก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น และพายุฝนฟ้าคะนองก็รุนแรงขึ้นเช่นกัน ภาพถ่ายดาวเทียมไอน้ำแสดงให้เห็นว่าแถบพายุฝนฟ้าคะนองที่มีการพาความร้อนลึกตามแนวขอบทางทิศตะวันตกของการไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
  • วันที่ 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ที่ทอดยาวตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ไปจนถึงจังหวัดโอกินาวะ มีการจัดระเบียบได้อย่างดี และมีกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน พายุตั้งอยู่ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 11:50 น. (04:50 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 27 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 440 กิโลเมตร (270 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงเกือบประมาณ 7 เมตร พายุยังคงอยู่ในน่านน้ำเปิดของทะเลฟิลิปปิน และมีตาพายุที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร (10 ไมล์) แต่เมฆของพายุได้กระจายผ่านคาเดนาไปไกลถึงตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และพายุยังคงมีกำลังแรงไว้เพราะอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวตั้งต่ำ และมีการไหลออกที่ดี ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้กระแสลมกรดบริเวณขั้วโลกทำให้แรงลมเฉือนแนวตั้งมากขึ้น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะอ่อนกำลังลงระหว่างเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นพายุไต้ฝุ่นชบาก่อนมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  • วันที่ 28 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบาทำให้นักพยากรณ์สามารถมองเห็นความรุนแรงของพายุได้ดี ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกภาพอินฟราเรดของพายุ และแสดงให้เห็นตาพายุที่กว้าง 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงพายุลูกนี้มีกำลังแรงมาก ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศที่ได้บันทึกภาพอินฟราเรดไว้แสดงให้เห็นตาพายุของพายุได้อย่างชัดเจน อุณหภูมิของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่มีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส ขณะที่พายุทำให้เกิดฝนตกหนักทางทะเลฟิลิปปินเมื่อเวลา 11:35 น. (04:35 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ให้ข้อมูลอินฟราเรดที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของเมฆพายุไต้ฝุ่นชบาแก่นักพยากรณ์ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อุณหภูมิเหล่านั้นมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถบอกนักพยากรณ์ได้ว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีอุณหภูมิสูงมากเท่าใด พายุก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนพบว่าพายุมีการจัดระเบียบได้เป็นอย่างดี และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีฝนตกปานกลางกับฝนตกหนักมาก แต่ข้อมูลไม่ได้แสดงตาพายุได้อย่างชัดเจน และจุดศูนย์กลางของพายุได้ปรากฏให้เห็นแถบเมฆพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บริเวณศูนย์กลางการไหลเวียนของพายุไต้ฝุ่นชบาเมื่อเวลา 18:04 น. (11:04 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นชบาถึงระดับความรุนแรงสูงสุดกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 17:53 น. (10:53 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย พายุตั้งอยู่ประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 10 เมตร
  • วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อเคลื่อนตัวผ่านเข้าไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น และส่วนเศษซากของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ แต่มีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าใกล้คาบสมุทรอะแลสกาจนกลายเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่โดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดกลางของ 940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วของปรอท) และจนกระทั่งสลายไปอย่างสมบูรณ์ในวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณใกล้กับคอร์โดวา รัฐอะแลสกา แต่ยังไม่ทันที่จะถึงแม่น้ำ ความชื้นในบรรยากาศก็เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือฝั่งสหรัฐ และสร้างสถิติสำหรับวันที่ฝนตกในซีแอตเทิล

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2553) https://earthobservatory.nasa.gov/images/event/466... https://earthobservatory.nasa.gov/images/46611/typ... https://earthobservatory.nasa.gov/images/46676/typ... https://web.archive.org/web/20101030233556/http://... https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-10-30... https://www.insidejapantours.com/japan-news/1562/j... https://www.smh.com.au/world/japan-evacuates-islan... https://web.archive.org/web/20101031004812/http://... https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-10-30... https://web.archive.org/web/20150410145930/http://...