พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559)
พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559)

พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559)

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559)พายุไต้ฝุ่นชบา หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นอิกเม (ตากาล็อก: Igme) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งประเทศเกาหลีใต้นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นซันปาในปี พ.ศ. 2555 ก่อตัวขึ้นจากความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559 อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวม ระบบมาถึงสถานะพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น[1] เมื่อถึงวันที่ 30 กันยายน พายุโซนร้อนชบาได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง หลังจากการพาความร้อนลึกได้พัฒนาเป็นลักษณะแถบ และภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมาก[2][3] ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพายุโซนร้อนกำลังแรงได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และโครงสร้างของพายุเริ่มดีขึ้นเป็นอย่างมาก[4][5][6] ในวันรุ่งขึ้นพายุไต้ฝุ่นชบาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระดับความรุนแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน[7][8] พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท)[9] หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อแกนกลางอสมมาตร เนื่องจากลมเฉือน[10][11] ขณะที่พายุเข้าใกล้ชายฝั่งปูซานพายุได้แปรสภาพเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และสลายไปในที่สุด[12]ดาวเทียมของจีพีเอ็มได้เคลื่อนตัวผ่านตรงเหนือตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบา เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนทั่วโลกแบบภาพไมโครเวฟ และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนแบบความถี่คู่แสดงให้เห็นว่าพายุกำลังตกตะกอนอย่างหนักมาก ปริมาณน้ำฝนในผนังตาเล็ก ๆ ของพายุวัดโดยภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนทั่วโลก และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอัตรามากกว่า 234 มิลลิเมตร (9.2 นิ้ว) ต่อชั่วโมง อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น และแรงลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำเป็น 2 ปัจจัย ที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นชบากลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน และเครื่องวัดสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์การถ่ายภาพความละเอียดปานกลางแสดงให้เห็นตาพายุที่ชัดเจน ซึ่งล้อมรอบด้วยพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรง[13]พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทั่วภาคใต้ของประเทศเกาหลีใต้จึงทําให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย และมีผู้สูญหายอีก 4 ราย การคมนาคมขนส่งหยุดชะงัก และมีการยกเลิกเที่ยวบิน 100 เที่ยว บ้านเรือนประสบปัญหาไฟฟ้าดับกว่า 200,000 หลัง[14]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559) http://english.chosun.com/site/data/html_dir/2016/... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... http://www.koreatimes.co.kr/www/news/nation/2016/1... http://www.kma.go.kr/bangjae/bang.html https://www.news.com.au/technology/environment/typ... https://thefinancialexpress.com.bd/ https://www.afpbb.com/articles/-/3103444 https://www.bbc.com/news/world-asia-37570852 https://www.todayonline.com/world/asia/powerful-ty... https://www.nasa.gov/feature/goddard/2016/chaba-no...