ผลกระทบ ของ พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559)

ประเทศเกาหลีใต้

แม่น้ำในชางวอน จังหวัดคย็องซังใต้หลังพายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านไป

ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ตามรายงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาเกาหลี (KMA) กล่าวว่าพายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ซองซาน จังหวัดเชจูเวลาประมาณ 2:50 น. (19:50 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)[19] มีการยกเลิกเที่ยวบิน 100 เที่ยวบิน ถนนหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำ และครัวเรือนประสบปัญหาไฟฟ้าดับ ฝนตกมากกว่า 600 มิลลิเมตร (24 นิ้ว) ในบางพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติฮัลลาซาน และฝนตก 400 มิลลิเมตร (16 นิ้ว) ตกลงมาที่ยงกังดง จังหวัดเชจู[20] เจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งอพยพให้กับผู้อยู่อาศัยในเรื่องนี้ หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ และข้ามสี่เขตทางตอนใต้ เช่น จังหวัดช็อลลาใต้ จังหวัดคย็องซังใต้ ปูซาน และอุลซัน ในช่วงที่พายุเข้าทำให้มีลมแรงพัด และฝนตกหนัก มีรายงานน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ลมแรงพัดป้ายโฆษณา และเกิดดินถล่มในพื้นที่ภูเขาบางแห่ง โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท ฮุนได มอเตอร์ ในอุลซันถูกปิดตัวลงทำให้รถยนต์หลาย 10 คัน ถูกน้ำท่วม[21] มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และสูญหาย 3 ราย[22] พายุไต้ฝุ่นชบาจะกลายเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดต่อภาคใต้ของประเทศเกาหลีใต้นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นแมมีในปี พ.ศ. 2546[23] บ้านเรือนมีความเสียหายอย่างน้อย 350 หลัง และบ้านเรือน 14 หลัง ถูกทำลายบางส่วนในจังหวัดเชจู และอุลซัน แต่คาดว่าจำนวนความเสียหายของบ้านเรือนจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทศบาลเสร็จสิ้นในการตรวจสอบความเสียหายในอีกไม่กี่วันข้างหน้า[24]

พื้นที่เพาะปลูกรวม 7,747 เฮกตาร์ ถูกน้ำท่วมในจังหวัดเชจู และจังหวัดช็อลลาใต้[25] นอกจากนี้ รถยนต์ได้รับความเสียหาย 1,046 คัน จากถูกน้ำท่วม บริษัทประกันภัย 7 แห่ง รายงานว่ามีการสูญเสียผู้เอาประกันภัยอันเนื่องมาจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นชบาเป็นจำนวนเงิน 20.3 พันล้านวอน (18.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดินถล่มในอุลซัน เขื่อน 2 แห่ง ถูกทำลาย และถนน 17 สาย ถูกพัดพาไปกับแม่น้ำ และบ้านเรือนประมาณ 228,500 หลัง ในจังหวัดเชจู จังหวัดช็อลลาใต้ และจังหวัดคย็องซังใต้ ปูซาน และแทกู ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับจากพายุไต้ฝุ่นชบา[26] และมีความเสียหายโดยรวม 143.3 พันล้านวอน (129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[27]

ประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบาได้ถล่มทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นทำให้เกิดลมแรง และฝนตกหนักทั่วภูมิภาค ผู้อยู่อาศัยมากกว่า 800 คน ได้อพยพออกจากบ้านเรือน และบ้านเรือนอีกประมาณ 1,000 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับหลังจากพายุได้พัดถล่มบริเวณจังหวัดโอกินาวะ[28]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นชบา_(พ.ศ._2559) http://english.chosun.com/site/data/html_dir/2016/... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... http://www.koreatimes.co.kr/www/news/nation/2016/1... http://www.kma.go.kr/bangjae/bang.html https://www.news.com.au/technology/environment/typ... https://thefinancialexpress.com.bd/ https://www.afpbb.com/articles/-/3103444 https://www.bbc.com/news/world-asia-37570852 https://www.todayonline.com/world/asia/powerful-ty... https://www.nasa.gov/feature/goddard/2016/chaba-no...