ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562)

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
     พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
     พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
     พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
     พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
     พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
     พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
     พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
     พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย
  • วันที่ 17 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่กำลังก่อตัวอยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ประมาณ 480 กิโลเมตร (300 ไมล์) และห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดหมายเลขระบบเป็น 97W
  • วันที่ 18 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับจากความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และได้ออกคำเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ในวันเดียวกันกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เมื่อเวลา 21:30 น. (14:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 19 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกประกาศสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง เมื่อเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับจากความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อเวลา 12:00 น. (05:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า บัวลอย
  • วันที่ 20 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 16:00 น. (9:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุโซนร้อนบัวลอยเข้าสู่ช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อมาพายุโซนร้อนบัวลอยกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
  • วันที่ 21 ตุลาคม นักพยากรณ์มีภาพพายุไต้ฝุ่นบัวลอยจากดาวเทียมเผยให้เห็นตาพายุที่ชัดเจน ซึ่งล้อมรอบด้วยลมฝนฟ้าคะนองอันทรงพลัง พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากไซปันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 กิโลเมตร (65 ไมล์) และอยู่ห่างจากกวมไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 315 กิโลเมตร (195 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และในวันเดียวกันกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)พายุไต้ฝุ่นบัวลอยก่อนที่จะเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยมีลมแรงสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวมประมาณ 645 กิโลเมตร (440 ไมล์) ดาวเทียมของจีพีเอ็มได้เคลื่อนตัวผ่านพายุพบว่าช่วงรอบตาพายุนั้นมีฝนตกที่หนักที่สุด โดยน้ำฝนตกลงมาในอัตรามากกว่า 50 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) ต่อชั่วโมง ทำให้นักพยากรณ์ที่ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ได้บันทึกไว้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินว่าตาพายุของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยมีความกว้างประมาณ 15 กิโลเมตร (10 ไมล์)
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 650 กิโลเมตร (405 ไมล์) ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และค่อย ๆ เคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางเหนือในเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) จากนั้นมุ่งหน้าไปยังแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 24 ตุลาคม ดาวเทียมของโนอา และดาวเทียมของนาซา ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และดาวเทียมทั้งคู่ใช้แสงอินฟราเรดเพื่อรับข้อมูลอุณหภูมิ และข้อมูลรูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย รูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุอสมมาตร ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังอ่อนกำลังลง ข้อมูลอินฟราเรดให้ข้อมูลอุณหภูมิ และพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงที่สุดที่ลอยสู่ชั้นบรรยากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดของเมฆที่เย็นที่สุด ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อนักพยากรณ์เนื่องจากลมพายุไม่สม่ำเสมอ และช่วยระบุตำแหน่งของพายุที่รุนแรงที่สุดเมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากทางตอนใต้ของเมืองมิซาวะ ประเทศญี่ปุ่นไปประมาณ 1,080 กิโลเมตร (670 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ระบุว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 25 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยเมื่อเวลา 05:00 น. (22:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) อยู่ทางตะวันออกของโยโกซูกะ ประเทศญี่ปุ่น พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) กล่าวว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนสลายไปในสิ้นวันนี้

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562) http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... https://www.asahi.com/articles/ASMBV2VPLMBVUDCB006... https://www.bangkokbiznews.com/world/852224 https://www.bastillepost.com/hongkong/article/5303... https://hilight.kapook.com/view/195198 https://www.tnnthailand.com/news/world/19968/ https://www.severe-weather.eu/tropical-weather/bua... https://blogs.nasa.gov/hurricanes/tag/bualoi-2019/ https://typhoon.yahoo.co.jp/weather/calendar/400/ https://www.jma.go.jp/bosai/map.html#4/15.072/144....