สถิติ ของ พายุไต้ฝุ่นแนนซี_(พ.ศ._2504)

เครื่องบินลาดตระเวนที่บินเข้าไปในพายุไต้ฝุ่นในขณะที่มีความหนาแน่นใหล้จุดสูงสุดในวันที่ 12 กันยายน ได้วัดความเร็วลมเฉลี่ยหนึ่งนาทีของพายุแนนซีได้ 185 นอต (215 ไมล์ต่อชั่วโมง; 345 กม./ชม.) หากค่าที่วัดได้นี้มีความน่าเชื่อถือจะเป็นความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้ในกลุ่มพายุหมุนเขตร้อน[4] อย่างไรก็ตามในภายหลังได้มีการพิจารณาแล้วว่าการวัดและการประมาณค่าความเร็วลมจากปี ค.ศ. 1940 ถึง 1960 นั้นมากเกินไป ดังนั้นความเร็วลมของพายุแนนซีอาจต่ำกว่าค่าวัดได้ที่ดีที่สุดอย่างเป็นทางการ[4] ในปี พ.ศ. 2559 การวิเคราะห์ซ้ำในกรณีของพายุเฮอริเคนแพทริเซีย ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าพายุแพทริเชียอาจมีความแรงลมเทียบเท่ากับพายุแนนซีซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในฝั่งซีกโลกตะวันตก[5]

ถึงแม้ว่ามาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) จะยังไม่มีอยู่ในตอนนั้น แต่แนนซีอาจจะถูกจัดอยู่ในระดับ 5 นานห้าวันครึ่ง (หรือ 132 ชั่วโมง) โดยสันนิษฐานว่าข้อมูลความเร็วลมนั้นมีความน่าเชื่อถือ ถ้าเป็นเช่นนั้นนี่จะเป็นสถิติของซีกโลกเหนือ และกินเวลายาวนานกว่าอันดับที่สองคือไต้ฝุ่นคาเรนในปี พ.ศ. 2505 หนึ่งวัน[6]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นแนนซี_(พ.ศ._2504) http://www.weather.unisys.com/hurricane/w_pacific/... http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/E1.html http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/E8.html http://www.nhc.noaa.gov/news/20160204_pa_PatriciaT... http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/dt/search_name2.... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... https://web.archive.org/web/20060312104623/http://... https://web.archive.org/web/20100527150732/http://... https://web.archive.org/web/20101206200600/http://... https://web.archive.org/web/20110607040559/http://...