ประวัติการจัดพิธีฯ ของ พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์

แต่เดิมพิธีนี้มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดเป็นครั้งคราวตามที่กระทรวงกลาโหมหรือกองทัพบกจะกำหนด ปรากฏมีบันทึกว่า พิธีนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ. 2496 สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยจัดให้มีขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ซึ่งตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน และเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานธงไชยเฉลิมพล เพื่อใช้แทนธงไชยเฉลิมพลของเดิม โดยมีพลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บังคับการ ร.1 รอ.ในขณะนั้น เป็นผู้บังคับการขบวนสวนสนาม และทหารสังกัด ร.1 รอ. เป็นพลสวนสนาม

หลังจากพิธีในครั้งนั้นก็ได้ว่างเว้นมาอีกเป็นเวลาหลายปี จนถึงสมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้มีการถวายพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร หลังจากทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยได้จัดพิธีสวนสนามของบรรดาทหารบก ทหารเรือ และ ทหารอากาศ เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2504 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นประกาศให้เป็น "วันพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม" แต่ทหารทั้งสามเหล่าแต่งกายด้วยเครื่องแบบของแต่ละเหล่าทัพ มิได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ

ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีบัญชาให้ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้หน่วยทหารรักษาพระองค์ในกรุงเทพมหานครเข้าร่วมพิธี จำนวนทั้งหมด 8 กองพัน จัดเป็น 2 กรมสวนสนาม มีรายละเอียดดังนี้

นับจากนั้นเป็นต้นมา พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามฯ ที่จัดขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ นี้ ก็ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ พระลานพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กำหนดให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันพิธีฯ เนื่องจากต้องการให้ได้ทรงพักผ่อนพระวรกายในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น (4 และ 6 ธันวาคม) มีพระราชกรณียกิจหลายประการอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2525 หน่วยทหารรักษาพระองค์ในส่วนภูมิภาคและเหล่าทัพอื่นๆ คือ กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ ได้เข้ามาร่วมพิธีด้วย จึงกำหนดการจัดหน่วยเข้าร่วมพิธีเพิ่มขึ้น จาก 8 กองพัน เป็น 12 กองพัน แบ่งออกเป็น 4 กรมสวนสนาม กรมละ 3 กองพัน แต่ละกองพันสวนสนามประกอบด้วยพลสวนสนาม 144 นาย (จัดแถวแบบ 12x12) หมู่แตรเดี่ยว 8 นาย หมู่เชิญธงชัยเฉลิมพล 4 นาย และผู้บังคับกองพัน 1 นาย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ได้จัดให้กำลังพลขี่ม้าเข้าร่วมพิธีด้วย จำนวนกองพันที่เข้าร่วมพิธีจึงเพิ่มเป็น 12+1 กองพัน โดยกองพันทหารม้าดังกล่าวจะเป็นกองพันสุดท้ายในขบวนสวนสนาม

ใกล้เคียง

พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 พิธีสารเกียวโต พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 พิธีราชาภิเษก พิธีราชาภิเษกในโอเชียเนีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ http://www.thantip.com/templetes/details.php?db=sp... http://web.archive.org/web/20050117133753/www.rta.... http://www.matichon.co.th http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/m... http://ruby.nectec.or.th:8080/ramgen/MPU/real-vide... http://ruby.nectec.or.th:8080/ramgen/MPU/real-vide...