พินัยกรรรมทางการเมือง ของ พินัยกรรมทางการเมืองของอดอล์ฟ_ฮิตเลอร์

พินัยกรรมทางการเมืองลงนาม ณ วันเวลาเดียวกับคำสั่งเสียส่วนตัว[3]

พินัยกรรมส่วนแรกพรรณนาแรงจูงใจของฮิตเลอร์ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานับแต่อาสาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกล่าวย้ำข้อกล่าวอ้างของฮิตเลอร์ที่ว่า จะฮิตเลอร์เองก็ดี จะคนอื่นคนใดในเยอรมนีก็ดี ไม่มีใครอยากให้เกิดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1939 ทั้งยังระบุเหตุผลของฮิตเลอร์ที่ประสงค์จะฆ่าตัวตาย พร้อมชื่นชมและขอบคุณชาวเยอรมันที่สนับสนุนและสร้างความสำเร็จด้วยกันตลอดมา[4] ส่วนแรกนี้ยังลงรายละเอียดเรื่องข้อกล่าวอ้างของฮิตเลอร์ที่ว่า ฮิตเลอร์พยายามเลี่ยงไม่ทำสงครามกับชาติอื่น ๆ แล้ว และยกการเกิดสงครามให้เป็นความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์ ดิอินเทอร์เนชันนัลจิว กับผู้ช่วยเหลือหนังสือพิมพ์นี้[5] ฮิตเลอร์ระบุว่า ตนจะไม่ทิ้งเบอร์ลิน แม้มีกำลังน้อยนิดเกินกว่าจะรักษาเมืองไว้ได้ ฮิตเลอร์ยังแถลงเจตนาที่เลือกตายดีกว่าตกในเงื้อมมือศัตรู[6] เขาทิ้งท้ายพินัยกรรมส่วนนี้ด้วยข้อเรียกร้องให้เสียสละและต่อสู้กันต่อไป[6] กับทั้งแสดงความหวังว่า จะรื้อฟื้นขบวนการสังคมนิยมแห่งชาติขึ้นใหม่เพื่อก่อให้เกิด "ประชาคมประชาชาติที่แท้จริง" (true community of nations)[5]

พินัยกรรมส่วนที่สองระบุเจตนาของฮิตเลอร์เกี่ยวกับรัฐบาลเยอรมนีและพรรคนาซีหลังจากที่เขาสิ้นชีพแล้ว กับทั้งรายละเอียดเรื่องใครจะสืบตำแหน่งเขา เขายังให้ไล่แฮร์มัน เกอริง ออกจากพรรคและจากตำแหน่งราชการทุกตำแหน่ง และยกเลิกกฤษฎีกาฉบับ ค.ศ. 1941 ที่ตั้งเกอริงเป็นผู้สืบตำแหน่งเขาหลังเขาเสียชีวิตแล้ว พินัยกรรมระบุให้ตั้งคาร์ล เดอนิทซ์ เป็นประธานาธิบดีและผู้บัญชาการทหาร แทนที่เกอริง[7] พินัยกรรมยังให้ไล่ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ออกจากพรรคและตำแหน่งราชการทุกตำแหน่ง ฐานที่พยายามเจรจาสันติภาพกับสัมพันธมิตรตะวันตกโดยที่ฮิตเลอร์ไม่รับรู้และไม่อนุญาต[6] นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ให้เรียกเกอริงและฮิมเลอร์ว่า กบฏ[8]

ฮิตเลอร์ให้ตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และเป็นผู้นำประเทศ[9]

พินัยกรรมมีพยาน คือ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์, มาร์ทีน บอร์มัน, พลเอก วิลเฮ็ล์ม บวร์คดอร์ฟ, และพลเอก ฮันส์ เครพส์[3]

ครั้นบ่ายวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ราวหนึ่งวันครึ่งหลังจากฮิตเลอร์ลงนามในบันทึกความประสงค์และพินัยกรรมแล้ว ฮิตเลอร์กับเบราน์ผู้เป็นภริยาก็ฆ่าตัวตาย[10] เกิบเบิลส์, พลเอก บวร์คดอร์ฟ, และพลเอก เครพส์ ฆ่าตัวตายตามไปในอีกสองวันถัดมา ส่วนบอร์มันฆ่าตัวตายในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เพื่อไม่ให้ทหารโซเวียตที่ล้อมเบอร์ลินอยู่จับตัวได้[11]

ใกล้เคียง

พินัยกรรมทางการเมืองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พินัยกรรมประหลาด พินัยกรรมของเลนิน พินัยกรรม พินอิน พิสัยการได้ยิน พิชัย ชุณหวชิร พิชัย รัตตกุล พิชัย วาศนาส่ง พิชัยสงครามซุนจื่อ