เปรียบเทียบความสูงพีระมิดคูฟูกับสิ่งก่อสร้างในประเทศไทย ของ พีระมิดคูฟู

หากเทียบความสูงกับสิ่งก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ซึ่งก่อสร้างเพิ่มเติมในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จากพระปรางค์องค์เดิมสมัยอยุธยา ที่สูงเพียง 8 วา เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2394 (ประมาณ ค.ศ. 1851) พระปรางค์องค์ใหญ่ มีความสูง 1 เส้น 13 วา 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว (ประมาณ 67 เมตร) นับได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในกรุงเทพมหานครขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 (ประมาณ ค.ศ. 1877) การก่อสร้างพระเจดีย์ภูเขาทอง (พระบรมบรรพต) ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่สร้างบนยอดภูเขาซึ่งก่อขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากไม้และอิฐ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จมีความสูง ถึงยอดเจดีย์ 1 เสัน 19 วา 2 ศอก (ประมาณ 77 เมตร) จึงนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดแห่งใหม่ในกรุงเทพมหานคร

สิ่งก่อสร้างสำคัญอีกแห่งหนึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้าพระเจดีย์ภูเขาทองเล็กน้อย คือ พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งเมื่อดำเนินการก่อสร้าง เจดีย์องค์ใหม่ ครอบเจดีย์องค์เดิม เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2413 (ประมาณ ค.ศ. 1870) ทำให้ พระปฐมเจดีย์องค์ใหม่ มีความสูงถึง 3 เส้น 1 คืบ 6 นิ้ว (ประมาณ 120.45 เมตร) นับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในประเทศไทยต่อมาอีกเป็นเวลากว่า 100 ปี

ในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) โรงแรมดุสิตธานีก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นอาคาร 21 ชั้น มีความสูง 82 เมตรนับเป็นอาคารสูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากก่อนหน้านั้น อาคารสูงที่สุดในกรุงเทพฯ คือ Cathay Trust Building (Esso Building) สูงเพียง 12 ชั้นเท่านั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นอาคาร 32 ชั้นได้ครองตำแหน่งอาคารสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ด้วยความสูง 134 เมตร โดยที่ยังคงมีความสูงน้อยกว่า พีระมิดคูฟู ที่อียิปต์ซึ่งขณะนั้นผุพังลงจนมีความสูงประมาณ 137 เมตร

จนถึงปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) กรุงเทพมหานครจึงมีอาคาร โรงแรมใบหยกสวีท (Baiyoke Suite Hotel) เป็นอาคาร 44 ชั้น ที่มีความสูง 151 เมตร ซึ่งนับเป็นอาคารแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความสูงมากกว่า พีระมิดคูฟู ที่ชาวอียิปต์สร้างไว้เมื่อ 4,600 ปีก่อน หลังจากนั้นมีการสร้างอาคารสูงทำลายสถิติ ความสูงของ ใบหยกสวีท อีกหลายแห่ง โดยที่ อาคารใบหยกทาวเวอร์ 2 (Baiyoke Tower 2) ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เป็นอาคาร 85 ชั้น มีความสูงถึง 304 เมตร กว่า 2 เท่าความสูง พีระมิดคูฟู และยังครองตำแหน่ง อาคารสูงที่สุดในกรุงเทพมหานครอยู่ ณ ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พีระมิดคูฟู http://catalogue.bnf.fr/ark:/12148/cb11939303h http://data.bnf.fr/ark:/12148/cb11939303h http://www.idref.fr/027326578 http://id.loc.gov/authorities/subjects/sh85057002 http://d-nb.info/gnd/4093545-0 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/identities/lccn-sh85-057002 http://www.simetric.co.uk/si_materials.htm https://viaf.org/viaf/247198851