ความแตกต่างทางทัศนะ ของ พุทธเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักอ้างว่าปราศจากค่านิยมและเป็นวิทยาศาสตร์ แท้จริงแล้วก็มีรากเหง้ามาจากการปฏิรูปทางวัฒนธรรมในประเทศตะวันตก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งกำหนดคุณลักษณะได้ดังนี้

  • ผลประโยชน์ส่วนตัว คือแรงผลักดันปกติของมนุษย์ซึ่งคือธรรมชาติที่เป็นจริงส่วนหนึ่งของมนุษย์
  • ปัจเจกชนนิยม สิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพ และสิทธิในทรัพย์สิน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้รับการคุ้มครองและต้องไม่ถูกละเมิด
  • สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุดต่อสังคมมนุษย์
  • ความสามารถในการควบคุมธรรมชาติจะปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมในการดำรงอยู่ของมนุษย์
  • เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการควบคุมธรรมชาติ

สมมุติฐานหลายประการดังกล่าวได้รับการอธิบายจากรากเหง้าของสังคมตะวันตก เช่น จากความแตกต่างของสภาพอากาศ ความต้องการที่จะเอาชีวิตรอดในระหว่างฤดูหนาวอันยาวนาน เหมือนเป็นการให้คำอธิบายที่ดี การสะสมอาหาร เชื้อเพลิงและเสื้อผ้าสำหรับครอบครัวในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำ ครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันอย่างเพียงพอในช่วงฤดูหนาว มีเวลามากพอสำหรับการอ่านหนังสือ การเขียน และการไตร่ตรองในช่วงระหว่างเดือนอันยาวนานนั้น ความสำเร็จอันหนึ่งคือความพยายามที่จะควบคุมธรรมชาติซึ่งนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิต ผลลัพทืที่เกิดขึ้นคือการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งเป็นนวัตกรรมอันหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเอาชนะธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก 1998: 54)

วัฒนธรรมเช่นนี้คือรากฐานที่แตกต่างไปจากประเทศตะวันออก[ต้องการอ้างอิง] ที่ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณภูมิอากาศเขตร้อน บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น ไม่มีแรงกดดันที่ทำให้ต้องสะสมอาหารในระหว่างปี การแบ่งปันอาหารเป็นวิธีการเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน ดูเหมือนว่าพวกเขามีความโน้มเอียงในการห่วงใยและแบ่งปันซึ่งกันและกัน เนื่องจากธรรมชาติไม่ได้โหดร้ายต่อพวกเขา จึงไม่มีความต้องการที่จะควบคุมหรือเอาชนะธรรมชาติ ประชาชนต่างอาศัยอยู่อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ

ในภูมิอากาศเขตร้อน ประชากรอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างใกล้ชิด ชีวิตชุมชนได้รับการเน้นมากกว่าชีวิตครอบครัวหรือแม้แต่ปัจเจกบุคคล ผลที่เกิดขึ้นคือในสมัยก่อนความเป็นเจ้าของโดยชุมชนจะมีความสำคัญมากกว่าความเป็นเจ้าของโดยส่วนตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ ความยากลำบากหรือปัญหาทางกาย ไม่ใช้สิ่งคุกคามที่แท้จริงในสังคมตะวันออก ภายใต้ความสะดวกสบายทางกายภาพพวกเขาก็ยังไม่ได้รับความพึงพอใจอย่างแท้จริง พวกเขายังคงถูกเผาผลาญจากความต้องการภายใน การค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจะต้องเจาะลึกลงไปให้มากกว่านี้ และจะต้องได้รับการศึกษาอย่างละเอียดเข้าไปในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ผู้ร้ายที่แท้จริงที่ถูกค้นพบคือความชั่วร้ายหรือกิเลสทั้งสามประการ คือ โลภะหรือความอยาก โทสะหรือความเกลียดชัง โมหะหรือความหลง ด้วยเหตุนี้คืการจัดการเกี่ยวกับทุกข์ในสังคมตะวันออกจึงมีความแตกต่างจากตะวันตก ซึ่งสาเหตุภายในของทุกข์จะต้องได้รับการค้นหาอย่างจริงจัง

โชคร้ายที่การเปรียบเทียบอย่างแหลมคมระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง (ตะวันออกและตะวันตก) ได้ลดลงเนื่องจากการปรากฏตัวขึ้นของระบบทุนนิยม ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงแรกของศตวรรษที่ 16 ในประเทศยุโรป John Calvin วิศวกรผู้ปรับปรุงคริสจักร (ผู้ก่อตั้ง “จริธรรมแบบพิวริตัน (en:Puritan Ethics) ” เพื่อปฏิรูปคริสเตียนให้เหมาะสมกับความรู้สึกของชนชั้นกลางในยุโรป และเพื่อความสะดวกในการสะสมทุน (Tawney 1992: 91-111) ระบบการผลิตแบบโรงงานซึ่งถูกนำมาใช้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ระบบการผลิตขนาดใหญ่เป็นแรงผลักให้นักอุตสาหกรรมและนักธุรกิจ กระตุ้นให้มีการเพิ่มการบริโภคโดยผ่านทางการโฆษณาและการรณรงค์ทางการตลาดขนาดใหญ่ ผลก็คือลัทธิบริโภคนิยมเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระหว่างนี้สิ่งชั่วร้ายสมัยใหม่ 3 ประการ[ต้องการอ้างอิง]ได้พัฒนาขึ้น คือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม และบริโภคนิยม เงินตราก็มีการปฏิรูปตัวเองจากการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บสะสมมูลค่า ทำให้การลงทุนสามารถแสวงหารายได้ต่อไปอีก เมื่อไม่นานมานี้เงินตราได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร รูปแบบดั้งเดิมของเงินตราได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยใช้เปลือกหอย สัตว์เลี้ยง ไปเป็นแร่เงิน ทองคำในช่วงเริ่มต้น ธนบัตรและบัตรเครดิตในระยะต่อมา การปฏิรูปครั้งล่าสุดของเงินตราคือเงินอิเลคโทรนิคส์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างฉับพลันทันทีไปยังที่ใด ๆ ก็ได้ในโลกใบนี้

ความชั่วร้าย 4 ประการคือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยม และการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องของเงินตรา ทำให้เกิดความชั่วขึ้นในจิตใจของมนุษย์ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะโลกตะวันออกปัญหารุนแรงยิ่งกว่า เนื่องจากประชาชนมีประสบการณ์กับพัฒนาการของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการนั้นในระยะเวลาที่สั้นกว่า ไม่เหมือนกับประเทศตะวันตกซึ่งการปฏิรูปค่อนข้างจะยาวนานกว่า ตั้งแต่เริ่มแรกของศตวรรษที่ 16 ส่วนในประเทศตะวันออกเพิ่งจะเกิดขึ้นในหนึ่งศตวรรษมานี้เอง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงค่อนข้างรุนแรงในประเทศตะวันออกมากกว่าประเทศตะวันตก และยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายล้างต่อไปในประเทศตะวันออก การปรากฏขึ้นของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ คือปัจจัยหลักที่ตอบสนองต่อการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมเปรียบเทียบทั้ง 2 คือ ตะวันออกและตะวันตก แม้ว่าการรวมกันจะก่อให้เกิดปัญหามากกว่า และความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ นำมาซึ่งปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลกอย่างรวดเร็ว ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดขีดจำกัดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลกซึ่งเปรียบเสมือนกับการอยู่ในยานอวกาศลำเดียวกัน ขีดจำกัดนี้เรียกร้องให้พวกเราทุกคนต้องมีการปฏิรูปวัฒนธรรมพื้นฐานของเรา เพื่อการอยู่รวดของมนุษยชาติทั้งมวล นี่คือสาเหตุว่าทำไมการฟื้นฟูเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเหมือนกับการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปในศาสนาคริสต์ของลัทธิลูเธอร์ราน (en:Lutheranism) ในช่วงอรุณรุ่งของลัทธิพาณิชนิยม (Tawney 1922 : 73-91) [ต้องการอ้างอิง]