คำถามอาจจะสร้างความพึงพอใจและความเจ็บปวด ของ พุทธเศรษฐศาสตร์

Jeremy Bentham กล่าวว่ามนุษย์พยายามที่จะแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด และลดความเจ็บปวดลงให้เหลือน้อยที่สุดโดยตั้งอยู่บนประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างในประเทศตะวันตกและยอมรับว่าเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีเหตุผล อย่างไรก็ตามถ้าแนวความคิดเกี่ยวกับ “ความพึงพอใจ (Pleasure) ” และ “ความเจ็บปวด (Pain) ถูกแทนที่ด้วยคำว่า “ความสุข (Happiness) ” และ “ความทุกข์ (Misery or Suffering) ข้อสรุปที่ได้ก็จะมีความหมายแตกต่างออกไปมาก และตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์จะแสวงหาความสุขให้มากที่สุดและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงจากความทุกข์หรือทำให้เกิดความทุกข์น้อยที่สุด ข้อสรุปที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งตอบสนองต่อความหมายของคำว่า “ความสุข” และ “ ความทุกข์” ซึ่งความหมายของทั้งสองคำนี้จะพบแต่ในโลกตะวันออกเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ มีแต่เพียงคำว่า "ทุกข์" (Misery or Suffering) เท่านั้นที่ต้องการคำนิยามที่ชัดเจน คล้ายกับอุณหภูมิซึ่งต้องการกำหนดระดับของความร้อนให้ชัดเจน ความร้อนน้อยหมายถึงความเย็น ในทำนองเดียวกัน ทุกข์น้อยก็หมายถึงมีสุขมาก ดังนั้นในแนวความคิดของชาวพุทธการทำให้ทุกข์เหลือน้อยที่สุด ก็หมายถึงการทำให้มีความสุขมากที่สุด เช่นเดียวกันกับแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์แกระแสหลักเกี่ยวกับการลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุดก็หมายถึงการทำให้มีกำไรมากที่สุด

ความทุกข์ ถูกอธิบายว่าเป็นสภาวะที่ขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันในตัวของบุคคล (พระราชวรมุนี 1983:21) [ต้องการอ้างอิง] ความขัดแย้งสำคัญจะปรากฏขึ้นเมื่อคนเราเชื่อ “ความมีตัวตน” และพยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนอย่างเหนียวแน่น ตามหลักศาสนาพุทธแล้ว ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “ตัวตน” อยู่ สิ่งที่เราตระหนักหรือรับรู้ว่าเป็นตัวตน แท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงการประกอบกันขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า “ขันธ์ห้า” ซึ่งประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ (พระราชวรมุนี 1983:15) ถ้าหากขาดขันธ์ห้าข้อใดข้อหนึ่งไป ก็จะไม่มีความเป็นคนอย่างสมบูรณ์ ทุกขณะจิตที่ผ่านไป คนก็จะไม่เหมือนเดิมเนื่องจากองค์ประกอบของขันธ์ห้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่อยู่นิ่งของขันธ์ห้าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่อยู่นิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (พระราชวรมุนี 1983:20) ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันจะเป็นการดีถ้าเรารับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นและตระหนักว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งความมีตัวตนด้วย ถ้าเราพยายามที่จะยึดติอยู่กับตัวตนในขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ผลที่เกิดขึ้นคือความขัดแย้งหรือความไม่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติที่ทุกสิ่งไม่อยู่นิ่ง คนส่วนใหญ่พยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนคล้ายกับว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่ คนเหล่านี้พยายามที่จะสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น โดยผ่านทางความชั่วร้ายหรือที่เราเรียกว่า กิเลส 3 ประการคือ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งกิเลสคือสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น (พระราชวรมุนี 1983:31)

ในทางตรงกันข้าม "ความสุข" หมายถึงการเป็นอิสระจากความโลภหรือความอยาก จากความโกรธ และความหลง (พุทธทาสภิกขุ 1996 : 23 และพระราชวรมุนี 1983:28) [ต้องการอ้างอิง] การปลดเปลื้องสูงสุดสำหรับมนุษยชาติทั้งหลายคือ การเป็นอิสระจากสิ่งชั่วร้ายทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้ว คนทั่วไปไม่สามารถปลดเปลื้องตัวเองออกจากกิเลสได้เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง (พระราชวรมุนี 1983:31) ความรู้ที่สำคัญและสูงกว่าความรู้อื่นทั้งปวงคือ การรู้ว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ตัวตน” ถ้าไม่มีตัวตนก็จะไม่มีใครเห็นแก่ตัว ไม่มีใครมีความเศร้าโศก (พระราชวรมุนี 1983:32)

ตามหลักของศาสนาพุทธ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีการพัฒนาสูงสุด เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติคือ มีความสามารถในการเรียนรู้ และการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ทั้งห้า (พระธรรมปิฎก 1993:34-36) อัตราการพัฒนาของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป แต่ทุกคนก็สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากสิ่งนี้เป็นคุณภาพที่สำคัญของบุคคล มีเหตุผลเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้บุคคลประพฤติหรือกระทำแตกต่างกันไป นั้นคือความรู้ ถ้ามนุษย์มีความรู้อย่างเพียงพอ เขาจะตอบสนองแตกต่างกันไป การแก้ไขที่เหมาะสม คือ การสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นจริงหรือการได้รับคำชี้แนะที่ดีจากกัลยาณมิตร ซึ่งอาจจะเป็นบิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อน ญาติมิตรหรือบัณฑิตทั้งหลาย ซึ่งมีความหวังดีต่อทุกคน (พระเทพเวที 1990:16-17) [ต้องการอ้างอิง]

สิ่งที่พูดมาทั้งหมดคือคำสอนพื้นฐานของศาสนาพุทธ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวความคิดเกี่ยวกับอรรถประโยชน์สูงสุดมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเกี่ยวกับการแสวงหาความพึงพอใจสูงสุดและหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวดต่าง ๆ เป็นความคิดที่ตื้นเขิน ไม่สามารถเข้าถึงธรรมชาติที่เป็นแกนกลางของมนุษย์ได้ แนวคิดของศาสนาพุทธที่ว่ามนุษย์ควรจะปลดปล่อยตนเองออกจากความทุกข์ทั้งหลายเพื่อบรรลุถึงความสุขที่แท้จริงเป็นแนวคิดที่สูงส่งกว่า สาเหตุของทุกข์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์มากที่สุดคือความอยากหรือความโลภ แนวความคิดเกี่ยวกับ “ความสุข” ในทัศนะของศาสนาพุทธไม่เหมือนกับความสุขในทัศนะของชาวตะวันตก ซึ่งมีความหมายในขอบเขตที่กว้าง ดังที่ได้เสนอมาก่อนหน้านี้ เช่น ความสนุกสนาน ความปีติยินดี ความพึงพอใจ ความหลงใหล และความรัก น่าประหลาดใจอยู่บ้างเล็กน้อยที่แนวคิดเกี่ยวกับ “การบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ” ไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก[ต้องการอ้างอิง]