ผลงานนามธรรมของไคลน์ ของ ฟรานซ์_ไคลน์

ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1930 จนถึงกลางทศวรรษ 1940 ไคลน์มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากการเขียนรูปมาจากบ้านเกิดซึ่งอยู่ในเขตทำเหมืองแถบเพนซิลวาเนีย ในช่วงทศวรรษ 1950 ไคลน์เติมสีสันลงบนผลงานของเขามากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่เขาเข้าสังกัดกับซิดนีย์ แจนิส แกลอรี่ ในปี ค.ศ.1956 ในช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากไคลน์แล้ว ศิลปินจากสำนักนิวยอร์กหลายคน โดยเฉพาะ วิลเลม เดอ คูนนิง และ แจ็คสัน พอลล็อก ก็หันมาเขียนภาพด้วยการใช้สีขาวดำด้วย คลีเมนต์ กรีนเบิร์ก นักวิชาการด้านศิลปะได้กล่าวถึงการใช้สีขาวดำของศิลปินเหล่านี้ไว้ว่าเป็นเสมือนพัฒนาการของเทคนิคแรเงา (เคียโรสกูโร) ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ศิลปะ

ผลงานของไคลน์มักจะเริ่มต้นมาจากภาพร่างที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และเนื่องจากเหตุผลด้านรายได้ ไคลน์มักจะร่างภาพลงบนกระดาษสมุดโทรศัพท์หรือไม่ก็กระดาษหนังสือพิมพ์ ช่วงปี ค.ศ.1948 ไคลน์ได้รู้จักอุปกรณ์ขยายภาพที่เรียกว่า เบลล์-ออฟติคอน ในห้องทำงานของเดอ คูนนิง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถฉายภาพวาดขาวดำของเขาให้ปรากฏบนผนังห้อง ทำให้ไคลน์สามารถพัฒนาเทคนิคการเขียนภาพอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมาได้ นั่นคือการนำภาพร่างที่เขียนไว้มาถ่ายทอดลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่

ใกล้เคียง

ฟรานซิส เบคอน (ศิลปิน) ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ฟรานซิส ไลต์ ฟรานซิส คริก ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ ลอร์ด เฮสติงส์ ฟรานซ์ ไคลน์ ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ฟรานซิส เบคอน ฟรานซ์โจเซฟแลนด์ ฟรานซิส เจฟเฟอส์