ลักษณะที่คล้ายศิลปะตะวันออก ของ ฟรานซ์_ไคลน์

ผลงานของไคลน์เป็นการแสดงออกถึงลีลาท่าทางบางประการคล้ายคลึงกับวิธีการเขียนตัวหนังสือของตะวันออก เช่น จีนและญี่ปุ่น ผิดกันตรงที่ไคลน์ใช้แปรงขนาดใหญ่วาดบนแผ่นผืนผ้าใบขนาดมหึมา เขานิยมใช้สีขาว ดำ และเทา ด้วยเหตุที่ว่าต้องการจะขจัดความวุ่นวายของสีต่างๆ ออกไป รอยที่แปรงของเขาจะดูใหญ่โตมโหฬารด้วยวิธีการเหมือนดังการเขียนตัวหนังสือจีน ฉะนั้นจึงก่อให้เกิดความรู้สึกห้าวหาญ เด็ดขาด รุนแรง และเต็มไปด้วยสมาธิ การใช้สีขาวของไคลน์นั้น มิใช่เป็นเพียงพื้นของภาพหรือไม่ได้ต้องการให้เป็นความว่างเปล่า แต่ต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของภาพ และแสดงความขัดแย้งโดยตรงกับสีดำ ต่อมาในราวปี ค.ศ. 1958 จึงเริ่มนำสีต่างๆ มาใช้เพื่อให้ได้บรรยากาศ แต่ไม่ได้ผลสำเร็จเท่ากับยุคที่ใช้สีดำ-ขาว ซึ่งมีความจริงอันเปลือยเปล่า เต็มไปด้วยลีลาและแสดงอารมณ์ของความขัดแย้งที่แสดงออกมาอย่างรุนแรง

แม้งานของไคลน์จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับศิลปะตะวันออก แต่ตัวศิลปินเองกลับปฏิเสธที่จะนำผลงานไปเปรียบเทียบกับงานของญี่ปุ่น เพราะเขาไม่ได้เขียนสีดำลงบนพื้นหลังสีขาวเท่านั้น หากแต่ไคลน์เขียนทั้งสีดำลงบนพื้นหลังสีขาวและเขียนสีขาวลงบนพื้นหลังสีดำ ภาพของเขาค่อยๆ เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนไป ไคลน์ใช้เวลาเขียนรูปเป็นสัปดาห์หรือไม่ก็เป็นเดือน ดังนั้นในช่วงเวลาหนึ่งเขาจึงผลิตผลงานออกมาได้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น กระบวนการในการทำงานของไคลน์จึงไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับศิลปะการเขียนอักษรด้วยหมึกสีดำลงบนกระดาษซึ่งสามารถเขียนเสร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไคลน์ได้ให้สัมภาษณ์ในปี 1962 ว่า การเขียนอักษรเป็นการเขียนหนังสือ แต่เขาไม่ได้เขียนหนังสือ และเขาไม่ใช่แค่เขียนสีดำลงบนผ้าใบสีขาว แต่เขาวาดทั้งสีขาวและสีดำ ซึ่งสีขาวก็มีความสำคัญเช่นกัน

ใกล้เคียง

ฟรานซิส เบคอน (ศิลปิน) ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ฟรานซิส ไลต์ ฟรานซิส คริก ฟรานซ์ ไคลน์ ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ ลอร์ด เฮสติงส์ ฟรานซิส เบคอน ฟรานซ์โจเซฟแลนด์ ฟรานซิส ลอว์เรนซ์ ฟรานซิส เดรก