ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ ฟักทอง

ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง

ฟักทองแบ่งเป็นตระกูลหลักสองตระกูลคือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (pumpkin) ขนาดผลใหญ่ เนื้อยุ่ย กับตระกูลสควอช (Squash) ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น[4] เปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น คางคกดำ คางคกลาย ศรีเมือง ข้องปลา สีส้ม รูปร่างกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย ดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจึงเป็นสีเหลืองอมส้ม ฟักทองญี่ปุ่น หรือกะโบะชะ (Kabocha) อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่นเดียวกับฟักทองไทย ผลเป็นทรงกลมขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานมัน

เทมปุระฟักทอง

ฟักทองนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น พายฟักทอง ซุปฟักทอง เทมปุระ แกง กินกับน้ำพริก น้ำฟักทองคั้นสด ฟักทองผัดไข่ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เมล็ดฟักทองมีสารคิวเคอร์บิทีน ช่วยขับพยาธิตัวตืด ใช้เป็นอาหารว่าง น้ำมันจากเมล็ดฟักทองนิยมใช้ปรุงอาหารในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ยอดฟักทองใช้รับประทานเป็นฝัก รากฟักทองนำมาต้มดื่มช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย [4]

ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโพรไพโอนิก” กรดนี้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง[5] ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน[6]