ฟุตบอลทีมชาติจีน
ฟุตบอลทีมชาติจีน

ฟุตบอลทีมชาติจีน

ฟุตบอลทีมชาติจีน เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลจีน ทีมชาติจีนนั้นก่อตั้งในปี พ.ศ. 2467 และในช่วงสงครามการเมืองจีน ทีมชาติได้ถูกย้ายไปเป็นฟุตบอลทีมชาติจีนไทเป (ของสาธารณรัฐจีนแทน) ซึ่งทีมชาติจีนได้ก่อตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทีมชาติจีนเคยร่วมเล่นในฟุตบอลโลกหนึ่งครั้งในฟุตบอลโลก 2002 สำหรับในระดับเอเชียทีมชาติจีนได้อันดับสูงสุดในเอเชียนคัพคือ รองชนะเลิศสองครั้งใน เอเชียนคัพ 1984 และ เอเชียนคัพ 2004นอกจากนี้ในประเทศจีนเองยังมีทีมชาติฮ่องกงและทีมชาติมาเก๊า ซึ่งยังคงใช้ชื่อทีมเดิม และไม่ได้รวมเข้ากับทีมชาติจีน ถึงแม้ว่าจีนได้ดินแดนคืนจากสหราชอาณาจักรในปี 2540 และจากโปรตุเกสในปี 2542 ในระดับภูมิภาคนั้น ทีมจีนได้รับฉายาว่าเป็นโรคกลัวเกาหลี (恐韩症) จากทางนักข่าวจีน เนื่องจากผลการแข่งขันของทีมชาติจีนกับทีมชาติเกาหลีใต้นั้นตั้งแต่ปี 2493 กว่า 30 นัด ทีมชาติจีนแทบจะชนะทีมเกาหลีใต้ไม่ได้เลย น่าจะมี 2 นัด ที่ทีมชาติจีนสามารถเอาชนะทีมชาติเกาหลีใต้ได้ คือ ฟุตบอลอีสต์เอเชี่ยนคัพ 2010 ชนะ 3-0 และฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือกโซนเอเชียรอบสองชนะ 1-0

ฟุตบอลทีมชาติจีน

ฉายา Team Dragon
ขุนพลแดนมังกร (ฉายาในภาษาไทย)
รหัสฟีฟ่า CHN
สมาคม สมาคมฟุตบอลจีน
(CFA)
เข้าร่วม 9 (ครั้งแรกใน พ.ศ. 2519)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 108 (กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
สมาพันธ์ เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 26 (ตุลาคม พ.ศ. 2544)
อันดับอีแอลโอ T 72
ผลงานดีที่สุด รองชนะเลิศ, พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2547
สนามเหย้า เวิร์กเกอร์สเตเดียม
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หลี เถีย
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 37 (ธันวาคม พ.ศ. 2541)
ทำประตูสูงสุด ห่าว ไห่ตง (41)
สมาพันธ์ย่อย สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก
(EAFF)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 80 (ธันวาคม พ.ศ. 2551)
กัปตัน เจิ้ง จื้อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน มาร์เชลโล ลิปปี
ติดทีมชาติสูงสุด หลี่ เว่ยเฟิง (112)
อันดับฟีฟ่า 68 3 (19 กันยายน 2562)[1]

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2