วันและสถานที่แข่งขัน ของ ฟุตบอลโลก_2014

วันแข่งขัน

การแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสัปดาห์หลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลลีกในทวีปยุโรปปิดฤดูกาลลง และยังตรงกับช่วงฤดูหนาวของประเทศในเขตกึ่งร้อนอย่างบราซิลอีกด้วย

สถานที่แข่งขัน

จิลมา รูเซฟ (คนที่ 2 จากขวา) และเปเล่ (คนกลาง) กับการติดตามงานในเมืองเบโลโอรีซอนตี

เมือง 17 เมืองที่สนใจจะเข้ารับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ได้แก่ เบเลง เบโลโอรีซอนตี บราซีเลีย กัมปูกรันดี กุยาบา กูรีตีบา โฟลเรียนอโปลิส ฟอร์ตาเลซา โกยาเนีย มาเนาส์ นาตาล โปร์ตูอาเลเกร เรซีฟี โอลิงดา (สนามจะเป็นสนามที่ใช้ร่วมกัน 2 เมือง) รีโอบรังโก รีโอเดจาเนโร ซัลวาดอร์ และเซาเปาลู[10] ส่วนมาเซโอได้ถอนตัวไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

ตามกฎของฟีฟ่าห้ามมีเมืองที่ใช้แข่งขันเกิน 1 สนาม และจำนวนของเมืองเจ้าภาพต้องอยู่ระหว่าง 8–10 เมือง โดยสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (เซเบเอฟี) ได้ยื่นคำขอที่จะใช้เมืองเจ้าภาพ 12 เมืองในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งนี้[11] ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ฟีฟ่าได้อนุมัติแผนการใช้เมืองเจ้าภาพที่มากถึง 12 เมือง[12]

ก่อนหน้าที่จะมีการคัดเลือกตัดสินเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพ มีการคาดการณ์กันว่าสนามที่จะได้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศคงเป็นสนามมารากานังในเมืองรีโอเดจาเนโรซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1950 ระหว่างอุรุกวัยกับบราซิลมาแล้ว แต่เดิมสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลตั้งใจจะจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามที่สนามโมรุงบีในเมืองเซาเปาลูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สนามโมรุงบีถูกตัดชื่อออกเนื่องจากไม่สามารถวางเงินประกันการปรับปรุงสนามให้เป็นไปตามมาตรฐานได้[13] ต่อมาในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 สมาคมฟุตบอลบราซิลได้ประกาศให้ใช้อาเรนาโกริงชังส์จัดการแข่งขันในเซาเปาลู

เมือง 12 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมืองเบเลง, กัมปูกรันดี, โฟลเรียนอโปลิส, โกยาเนีย และรีโอบรังโกถูกตัดออก เกินครึ่งของเมืองที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องปรับปรุงสนามหรือสร้างสนามขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ในขณะที่สนามในกรุงบราซีเลียจะถูกทุบและสร้างขึ้นใหม่ ส่วนอีกห้าเมืองก็กำลังปรับปรุงสนามของตนเอง

รีโอเดจาเนโรบราซีเลียเซาเปาลูฟอร์ตาเลซา
สนามกีฬานักหนังสือพิมพ์มารีอู ฟิลยู
(มารากานัง)
สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
(มาเน การิงชา)
อาเรนาโกริงชังส์สนามกีฬาปลาซีดู อาเดรัลดู กัสเตลู
(กัสเตเลา)
ความจุ : 76,935คน[14]ความจุ : 70,042คน[15]ความจุ : 68,000คน
(สนามใหม่)
ความจุ : 64,846คน[16]
เบโลโอรีซอนตีโปร์ตูอาเลเกร
สนามกีฬาผู้ว่าการมากัลไยส์ ปิงตู
(มีเนย์เรา)
สนามกีฬาฌูแซ ปิญเญย์รู บอร์ดา
(เบย์รา-รีอู)
ความจุ : 62,547 คนความจุ : 51,300 คน[17]
(ปรับปรุงใหม่)
ซัลวาดอร์เรซีฟี
ศูนย์กีฬาศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา
(อาเรนาฟงชีนอวา)
อาเรนาเปร์นัมบูกู
ความจุ : 56,000 คน[18]ความจุ : 46,154 คน
(สนามใหม่)
กุยาบามาเนาส์นาตาลกูรีตีบา
อาเรนาปังตานัลอาเรนาอามาโซเนียอาเรนาดัสดูนัสสนามกีฬาโฌอากิง อาเมรีกู กีมาไรส์
(อาเรนาดาไบชาดา)
ความจุ : 42,968 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,374 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,086 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 43,900 คน
(ปรับปรุงใหม่)

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ฟุตบอลโลก 2022 ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟุตบอลโลก_2014 http://theworldgame.sbs.com.au/2014-world-cup/news... http://www.internacional.com.br/pagina.php?modulo=... http://terramagazine.terra.com.br/interna/0,,OI455... http://copadomundo.uol.com.br/noticias/redacao/201... http://www1.folha.uol.com.br/internacional/en/spor... http://copa2014.gov.br/pt-br/noticia/embaixadores-... http://english.people.com.cn/200301/19/eng20030119... http://www.astrium-geo.com/en/4752-stadium-constru... http://www.boston.com/ae/celebrity/articles/2010/0... http://www.conmebol.com/en/content/fifa-revenue-es...