ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เมื่อกระสวยอวกาศโคลัมเบียของ องค์การนาซา แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตกลงมาสู่โลกเหนือเขตรัฐเท็กซัสพร้อมกับการสูญเสียลูกเรือทั้งหมดเจ็ดคน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในเที่ยวบินที่ 28 STS-107 และกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลกการสูญเสียของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่ง ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อนชิ้นหนึ่งเกิดปริแตกออก และหลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก พุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำให้ระบบป้องกันความร้อนของกระสวย (Shuttle's thermal protection system (TPS)) ได้รับความเสียหาย วิศวกรจำนวนหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่กระสวยอวกาศยังอยู่ในวงโคจร แต่ผู้จัดการภาคพื้นดินของนาซาให้จำกัดขอบเขตการสอบสวนไว้ก่อนเพราะเห็นว่ายังไม่สามารถทำอะไรได้คณะกรรมการสอบสอนอุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในทางเทคนิคและด้านการจัดการภายในองค์กร ทำให้โครงการด้านกระสวยอวกาศต้องหยุดชะงักไปกว่าสองปีหลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ นับเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

เวลา 08:59 EST (13:59 UTC)
สาเหตุ ปีกมีความเสียหายจากซากฝุ่น
การสอบสวน Columbia Investigation Board
สถานที่ เหนือรัฐเท็กซัสและรัฐลุยเซียนา
ผลลัพธ์ กระสวยอวกาศไม่ถูกนำขึ้นไป 29 เดือน
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2003; 17 ปีก่อน (2003-02-01)
เสียชีวิต
ผู้บังคับบัญชาริก ฮันแบนด์ นักบิน
วิลเลียม ซี. แมคคูล ผู้ควบคุมการบรรทุก
ไมเคิล พี. แอนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ
คาลปานา ชอว์ลา ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ
เดวิด เอ็ม. บราวน์ ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ
ลอเรล คลาร์ก ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ
อิลาน รามอน

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร