รัฐลุยเซียนา
รัฐลุยเซียนา

รัฐลุยเซียนา

ลุยเซียนา (อังกฤษ: Louisiana, ออกเสียง /luːˌiːziˈænə/ หรือ /ˌluːziˈænə/) เป็นรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ซึ่งในรัฐลุยเซียนามีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการของรัฐ ถึงแม้ว่าภาษาฝรั่งเศสจะมีใช้เพียงประมาณ 5% เมืองสำคัญของรัฐคือ นิวออร์ลีนส์ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ แบตันรูช ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ นิวออร์ลีนส์เซนต์และนิวออร์ลีนส์ฮอร์เนตส์ในอดีตรัฐลุยเซียนา เป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมลุยเซียนาของฝรั่งเศส รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ได้ทำข้อตกลงการซื้อลุยเซียนากับ นโปเลียน โบนาปาร์ต เมื่อปี พ.ศ. 2346 จนได้ดินแดนส่วนนี้มาครอบครอง ชื่อของรัฐ"ลุยเซียนา" มาจากชื่อของหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส โดยมีความหมายว่า “ดินแดนของหลุยส์” ในปี พ.ศ. 2550 ลุยเซียนามีประชากร 4,089,963คน[6]ในทุกปี จะมีงานเฉลิมฉลองขนาดใหญ่จัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์ชื่องานว่า มาร์ดีกรา (Mardi Gras) จะมีขบวนพาเหรดและงานรื่นเริงต่างๆ โดยจัดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2548 พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ได้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองนิวออร์ลีนส์

รัฐลุยเซียนา

ความสูงจุดสูงสุด (Driskill Mountain[4]) 535 ฟุต (163 เมตร)
เว็บไซต์ www.louisiana.gov
เมืองใหญ่สุด New Orleans[1][2][3]
ความสูงจุดต่ำสุด (New Orleans[4]) -8 ฟุต (-2 เมตร)
รหัสไอเอสโอ 3166 US-LA
• ภาษาทางการ De jure: None
De facto: English and French
• ทั้งหมด 4,410,796 (2,008 est.)[5] คน
• ความหนาแน่น 102.59 คน/ตร.ไมล์ (39.61 คน/ตร.กม.)
เขตเวลา Central: UTC−6/-5
เข้าร่วมสหรัฐ April 30, 1812 (18th)
อันดับพื้นที่ 31st
• ความกว้าง 130 ไมล์ (210 กิโลเมตร)
เมืองหลวง Baton Rouge
อักษรย่อไปรษณีย์ LA
• พื้นดิน 43,601 ตร.ไมล์ (112,927 ตร.กม.)
• ความยาว 379 ไมล์ (610 กิโลเมตร)
• อันดับ 25th
ประเทศ สหรัฐ
• รองผู้ว่าการ Mitch Landrieu (D)
สมาชิกวุฒิสภา Mary Landrieu (D)
David Vitter (R)
เดมะนิม Louisianan, Louisianais (French)
Lwizyané(èz) (Creole)
ความสูง 98 ฟุต (30 เมตร)
• อันดับความหนาแน่น 24th
สถานะก่อนเป็นรัฐ Territory of Orleans
มหานครใหญ่สุด New Orleans metro area
• พื้นน้ำ 8,284 ตร.ไมล์ (21,455 ตร.กม.)  15%
• ผู้ว่าการ Bobby Jindal (R)
ละติจูด 28° 56′ N to 33° 01′ N
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 Republicans, 1 Democrat
ลองจิจูด 88° 49′ W to 94° 03′ W