ประเภทของภาพเหมือนตนเอง ของ ภาพเหมือนตนเอง

จิตรกรกำลังเขียนภาพ

ภาพเหมือนจากยุคกลางเป็นจำนวนมากเป็นภาพเขียนของจิตรกรที่กำลังเขียนภาพ เช่นในภาพเหมือนตนเองของยัน ฟัน ไอก์ที่ใส่ "Chaperon" ที่มีลักษณะคล้ายหมวก ที่ฟัน ไอก์ตลบชายที่ห้อยลงมาขึ้นไปพันรอบศีรษะที่ทำให้ดูคล้ายผ้าโพกของซิกส์ ที่คงจะเป็นการทำเพื่อที่จะให้สะดวกระหว่างการเขียนภาพ[18] ระหว่างสมัยใหม่ตอนต้นจิตรกรทั้งหญิงและชายที่เขียนภาพเหมือนตนเองก็จะต้องเลือกระหว่างการเขียนภาพในเครื่องแต่งกายที่ดีที่สุดหรือในห้องที่ดีที่สุด หรือจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง

กลุ่มภาพเหมือนตนเอง

"ภาพเหมือนตนเองในกระจก" โดยParmigianinoที่เขียนเป็นภาพสะท้อนบนกระจกนูนที่เป็นกระจกที่ใช้กันในสมัยนั้น

นักวิพากษ์ศิลป์ กาลินา วาซิลเยนา-เชลียพินาแยกลักษณะการเขียนภาพตนเองเป็นสองกลุ่ม ภาพเหมือน "แสดงอาชีพ" (professional) ซึ่งเป็นภาพเขียนของจิตรกรระหว่างการเขียนภาพ และ ภาพเหมือน "ส่วนตัว" (personal) ที่เผยถึงสภาวะทางจริยธรรมและทางด้านจิตใจของผู้เขียน นอกจากนั้นก็ยังแบ่งต่อไปอีกเป็น (1) "ภาพแทรง" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเข้าไปในรูป เช่นอยู่ในหมู่คนในรูป; (2) "ภาพแสดงศักดิ์หรือสัญลักษณ์" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์หรือศาสนา; (3) "ภาพเหมือนกลุ่ม" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวจริง; (4) "ภาพแท้จริง หรือ ภาพธรรมชาติ" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองคนเดียว แต่การจัดกลุ่มที่ว่านี้ก็อาจจะเป็นการจัดที่ค่อนข้างขาดความยืดหยุ่น และภาพเหมือนบางภาพก็อาจจะผสมระหว่างลักษณะการเขียนมากกว่าสองอย่าง[19]

การใช้กระจกและการวางท่า

โยฮันส์ กัมพ์, ค.ศ. 1646 แสดงการเขียนภาพเหมือนตนเองภาพเหมือนตนเอง[20]

ภาพเหมือนตนเองตามทฤษฎีแล้วเป็นภาพที่เขียนจากเงาที่สะท้อนจากกระจก เมื่อกระจกแพร่หลายขึ้นในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กระจกที่ใช้กันแบบแรกเป็นกระจกนูนที่บางครั้งจิตรกรก็ยังรักษาภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงของตนเองตามลักษณะกระจกไว้เช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองในกระจก" โดยพาร์มิจานิโนที่เขียนใน ค.ศ. 1524 นอกจากนั้นแล้วกระจกก็ยังสามารถทำให้สร้างองค์ประกอบของภาพได้หลายแบบเช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองสามแบบ" โดยโยฮันส์ กัมพ์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1646 หรือเมื่อไม่นานมานี้ในภาพที่เขียนโดยซัลบาดอร์ ดาลีที่เป็นภาพด้านหลังขณะที่กำลังเขียนภาพภรรยา

การใช้เงาที่สะท้อนจากกระจกมักจะเป็นผลทำให้จิตรกรที่ถนัดมือขวาปรากฏในภาพเป็นผู้ถนัดมือซ้าย หรือในทางกลับกันจิตรกรถนัดซ้ายก็จะกลายเป็นผู้ถนัดขวา ฉะนั้นภาพเหมือนที่เป็นก็จะเป็นภาพสะท้อนของจิตรกรที่โลกทั้งโลกเห็นนอกจากว่าจะใช้กระจกสองอัน ภาพเหมือนของแร็มบรันต์ส่วนใหญ่ที่เขียนก่อน ค.ศ. 1660 จะเป็นภาพที่มีมือเพียงมือเดียว - มือที่ใช้เขียนภาพไม่ปรากฏในภาพ[21] ดูเหมือนว่าแร็มบรันต์จะซื้อกระจกบานใหญ่ขึ้นราวปี ค.ศ. 1652 หลังจากนั้นภาพเหมือนตนเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี ค.ศ. 1658 กระจกบานใหญ่ที่มีกรอบไม้แตกขณะที่ทำการขนย้ายไปยังบ้านของแร็มบรันต์ แต่กระนั้นแร็มบรันต์ก็ยังสามารถเขียนภาพภาพเหมือนตนเองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่เขียนมาได้

"Las Meninas" (ค.ศ. 1656) แสดงเดียโก เบลัซเกซกำลังเขียนภาพบนขาหยั่งทางด้านซ้ายของภาพ

ขนาดของกระจกยังคงจำกัดอยู่จนกระทั่งมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 1688 ในฝรั่งเศสโดยแบร์นาร์ด แปร์โรต์ นอกจากนั้นก็ยังแตกง่าย และราคาก็สูงขึ้นตามขนาด กระจกบานใหญ่ที่แตกก็จะถูกตัดเป็นบานเล็ก ๆ ขาย กระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ในขณะนั้นมีขนาดราว 80 เซนติเมตร ราวขนาดเดียวกับกระจกในพระราชวังในภาพ "Las Meninas" (กระจกโค้งนูนในภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ถือกันโดยนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เกินความเหมาะสม ซึ่งเป็นกลเม็ดอันฉลาดอันหนึ่งในการบิดเบือนขนาดอัตราส่วนของภาพ) [22] เพราะความจำกัดของขนาดของกระจกทำให้ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรมักจะเป็นภาพครึ่งตัว

ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพเป็นประเภทของภาพเหมือนตนเองที่พบบ่อยที่สุดในการเขียนภาพเหมือนตนเองในยุคกลาง และนิยมกันต่อมาโดยเฉพาะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาพเหมือนตนเองอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคือการเขียนตนเองเป็นนักบุญลูค (ผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของศิลปิน) กำลังเขียนภาพเวอร์จินแมรี ภาพเหล่านี้มักจะเขียนเพื่อมอบให้สมาคมเซนต์ลูคท้องถิ่นสำหรับนำไปตั้งในชาเปลของสมาคม ภาพเหมือนตนเองที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ภาพ "จิตรกรในห้องเขียนภาพ" โดยกุสตาฟว์ กูร์แบ (ค.ศ. 1855) ซึ่งเป็นภาพ "อุปมานิทัศน์" ขนาดใหญ่ของสิ่งต่าง ๆ และตัวแบบต่าง ๆ รอบจิตรกร

การเขียนภาพเหมือนตนเองและความตาย

การใช้ภาพเหมือนตนเองในการสื่อ

ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรรมศิลปินร่วมสมัยและศิลปินสมัยใหม่มักจะแสดงลักษณะเด่นตรงที่เป็นการสื่อเรื่องราวที่ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวของชีวิตของตัวศิลปินเอง บางครั้งเรื่องราวในภาพก็จะลม้ายแฟนตาซีหรือ การเล่นบท และ เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น นอกจากเดียโก เบลัซเกซ (ในภาพเขียน "Las Meninas"), แร็มบรันต์, ยัน เดอ ไบร, กุสตาฟว์ กูร์แบ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค และ ปอล โกแก็งแล้ว ภาพเหมือนตนเองของศิลปินคนอื่น ๆ ที่เผยถึงความซับซ้อนก็รวมทั้งปีแยร์ บอนาร์, มาร์ก ชากาล, ลูเซียน ฟรอยด์, อาร์ชีล กอร์คี, แอลิซ นีล, ปาโบล ปีกัสโซ, ลูคัส ซามาราส, เจนนี ซาวิลล์, ซินดี เชอร์แมน, แอนดี วอร์ฮอล และ กิลเบิร์ตและจอร์จ

การใช้ภาพเหมือนตนเองในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเอง

ภาพเหมือนตนเองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองของศิลปิน โดยเฉพาะสำหรับจิตรกรภาพเหมือน ดือเรอร์ไม่มีความสนใจในการเขียนภาพเหมือนขายเท่าใดนักแต่ก็ใช้ภาพเหมือนตนเองอันไม่เหมือนผู้ใดในการโฆษณาตนเองในฐานะจิตรกร งานเขียนทางการค้าส่วนใหญ่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จของแร็มบรันต์เป็นการเขียนภาพเหมือนเช่นเดียวกันอันโตนี ฟัน ไดก์ และ โจชัว เรย์โนลด์ส ซึ่งภาพที่เขียนก็เป็นเจตนาที่ใช้ในการเผยแพร่ชื่อเสียง เมื่อสถาบันจัดการแสดงภาพเขียนกันขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ศิลปินหลายคนต่างก็พยายามสร้างภาพเหมือนตนเองที่สร้างความประทับตาให้แก่ผู้ชม เช่นในการแสดงนิทรรศการภาพเหมือน "Rebels and Martyrs" ของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้[25] ตัวอย่างของการโฆษณาตนเองของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คืองานเขียนภาพเหมือนตนเองทุกวันโดยอาร์โนด์ พรินสเตท์, ผู้สร้างความโด่งดังเมื่อประกาศว่าจะเขียนภาพเหมือนของตนเองวันละภาพ[26] แต่ก็มีจิตรกรอีกมากที่เขียนภาพเหมือนของตนเองโดยไม่มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่ตนเองแต่อย่างใด

ภาพเหมือนตนเองที่บอกอาการทางสุขภาพ

ภาพเหมือนตนเองของอีกอน ชีเลอ ค.ศ. 1911 เป็นภาพการสำเร็จความใคร่

นักเขียนบางคนที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับประสาท หรือ ทางร่างกายก็ทิ้งภาพเหมือนตนเองที่ทำให้นายแพทย์ต่อมาพยายามทำการวิจัยความบกพร่องทางจิต และการวินิจฉัยบางอย่างก็ได้รับการตีพิมพ์ในตำราทางด้านประสาทวิทยา[2] การเขียนภาพเหมือนตนเองของศิลปินผู้ป่วยด้วยโรคจิตประสาทเป็นการเปิดโอกาสให้นายแพทย์ได้ศึกษาการมองตนเองของผู้มีปัญหาทางด้านจิตวิทยา และ ประสาทวิทยา

นักเพศวิทยาชาวรัสเซียอิกอร์ คอนตั้งข้อสังเกตในบทความเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่ว่ากิจการดังกล่าวอาจจะปรากฏในงานศิลปะ โดยเฉพาะในงานจิตรกรรม เช่นในภาพเขียนของศิลปินชาวออสเตรียอีกอน ชีเลอ ซึ่งคอนตั้งข้อสังเกตว่าไม่ใช้เป็นภาพเขียนที่แสดงความพึงพอใจของผู้กระทำ แต่เป็นภาพที่แสดงถึงความอ้างว้างโดดเดี่ยว งานเขียนของชีเลอได้รับการวิจัยโดยนักค้นคว้าอื่นทางด้านพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวกับโรคใคร่เด็ก (pedophilia)

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาพเหมือนตนเอง http://www.artcyclopedia.com/artists/kahlo_frida.h... http://www.artcyclopedia.com/artists/schiele_egon.... http://www.batguano.com/Vigeeselfp.html http://www.sehepunkte.de/2006/10/9307.html http://www.npg.si.edu/ http://www.research.umbc.edu/~ivy/selfportrait/ http://www.research.umbc.edu/~ivy/selfportrait/bac... http://www.research.umbc.edu/~ivy/selfportrait/int... http://www.culture.gouv.fr:80/documentation/jocond... http://www.munch.museum.no/exhibitions.aspx?id=35