ภาวะกรดเกิน
ภาวะกรดเกิน

ภาวะกรดเกิน

ภาวะกรดเกิน[1], ภาวะกระเดียดกรด[2] หรือ ภาวะร่างกายเป็นกรด[3] (อังกฤษ: Acidosis) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดเพิ่มขึ้นในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกาย กล่าวคือเป็นการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน หากไม่ได้มีการระบุรายละเอียดเพิ่มเติม โดยทั่วไปมักใช้หมายถึงความเป็นกรดในพลาสมาเลือดคำว่า ภาวะกรดเลือดเป็นกรด[4] หรือ เอซิเดเมีย (acidemia) ใช้อธิบายถึงสภาวะที่ซึ่งค่า pH ของเลือดต่ำ ในขณะที่เอซิดอซิส (acidosis) ใช้อธิบายกระบวนการซึ่งนำไปสู่สภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามทั้งสองคำอาจใช้เปลี่ยนกันได้ใบางครั้ง เอซิเดเมียนั้นเกิดขึ้นเมื่อค่า pH ในหลอดเลือดแดง (arterial pH) ต่ำกว่า 7.35 (ยกเว้นกรณีในทารกในครรภ์; fetus) ในขณะที่อาการคู่ตรงข้าม อัลคาเลเมีย (alkalemia) เกิดขึ้นที่ค่า pH สูงกว่า 7.45 ในการประเมินผู้ป่วยนั้นต้องมีการวิเคราะห์ค่า Arterial blood gas และการทดสอบอื่น ๆอัตราเมแทบอลิซึมในเซลล์ (rate of cellular metabolic activity) ทั้งส่งผลและได้รับผลกระทบในเวลาเดียวกันจากค่า pH ของของเหลวในร่างกาย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า pH ปกติอยู่ที่ 7.35 ถึง 7.50 ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และจำกัดอยู่ที่ไม่เกินระหว่าง 6.8 ถึง 7.8 ในการดำรงชีพได้ การเปลี่ยนแปลงในค่า pH ของเลือดในหลอดเลือดแดง (ซึ่งก็ตามด้วยของเหลวนอกเซลล์) ที่เกินจากช่วงที่กำหนดนี้อาจส่งผลให้เซลล์ไดรับอันตรายแบบกู้กลับไม่ได้ (irreversible cell damage)[5]

ใกล้เคียง

ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด ภาวะกรดมาโลนิกและกรดเมทิลมาโลนิกในปัสสาวะ ภาวะกะเทยแท้ ภาวะการมีบุตรยาก ภาวะกรดเกิน ภาวะการเปียก ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเพราะสมองน้อยพิการ ภาวะกลืนลำบาก ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกปลอม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ