ภาวะข้อมูลท่วมท้น

ภาวะข้อมูลท่วมท้น (อังกฤษ: information overload) หมายถึง ภาวะที่บุคคลประสบความยุ่งยากในการเข้าใจประเด็นและตัดสินใจ อันเนื่องมาจากมีข้อมูลมากเกินไป ทำนองเดียวกับ "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" หรือ "มากหมอมากความ"[1]ศัพท์นี้ได้รับความนิยม เพราะ อัลวิน ทอฟเลอร์ ใช้ในหนังสือขายดีของตน ชื่อ Future Shock (ค.ศ. 1970) และ เบอร์แทรม กรอส ก็ใช้ในหนังสือของตน ชื่อ The Managing of Organizations (ค.ศ. 1964)[2]ศัพท์และแนวคิดดังกล่าวนี้ มีมาก่อนอินเทอร์เน็ต[ต้องการอ้างอิง]ทอฟเลอร์อธิบายศัพท์นี้ โดยเปรียบเทียบว่า ภาวะข้อมูลท่วมท้นคือการได้รับรู้ความรู้สึกมากเกินไป (sensory overload) ในยุคข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ การรับรู้ความรู้สึกมากเกินไปเป็นศัพท์ที่เริ่มใช้ในทศวรรษ 1950[3] และถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการไม่มีสมาธิและขาดการตอบสนอง ทอฟเลอร์นิยามภาวะข้อมูลท่วมท้นว่ามีผลกระทบลักษณะเดียวกัน แต่เกิดกับการทำงานทางการรับรู้ในระดับที่สูงกว่า เขาเขียนว่า "เมื่อปัจเจกบุคคลตกอยู่ในภาวะที่สถานการณ์เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและอย่างผิดปรกติ หรืออยู่ในบริบทที่ไม่เคยพบประสบมาก่อน...บุคคลนั้นจะมีความแม่นยำในการคาดการณ์ลดลง เขาจะไม่สามารถประเมินอย่างถูกต้องได้อีกต่อไปว่าพฤติกรรมที่มีเหตุผลแบบไหนที่เชื่อใจได้"[4]

ใกล้เคียง

ภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดสมดุลอิเล็กโทรไลต์ ภาวะขาดการนอนหลับ ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย ภาวะขาดอากาศหายใจ ภาวะข้อมูลท่วมท้น ภาวะขาดวิตามินบี12 ภาวะขาดธาตุเหล็ก ภาวะขาดวิตามินบี9 ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์