ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (อังกฤษ: cachexia) หรือ โรคผอมแห้ง คือ ภาวะน้ำหนักลด กล้ามเนื้อฝ่อ ล้า อ่อนเพลียและหมดความอยากอาหารอย่างสำคัญในผู้ที่ไม่ได้กำลังพยายามลดน้ำหนักอย่างขันแข็ง นิยามภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกอย่างเป็นทางการ คือ การเสียมวลร่างกายซึ่งไม่สามารถย้อนได้ด้วยโภชนาการ แม้ผู้ป่วยได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้น ก็ยังมีการสูญเสียมวลร่างกาย ซึ่งบ่งชี้ว่ามีพยาธิสภาพหลักภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกพบได้ในผู้ป่วยมะเร็ง เอดส์[1] โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคหัวใจเลือดคั่ง วัณโรค โรคแอมิลอยด์ชนิดกรรมพันธุ์ที่มีโรคเส้นประสาท ภาวะพิษปรอท และการขาดฮอร์โมนภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงเชิงบวกของการเสียชีวิต หมายความว่า หากผู้ป่วยมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก โอกาสเสียชีวิตจากสภาพเบื้องหลังจะเพิ่มขึ้นมาก ภาวะนี้สามารถเป็นอาการแสดงของความผิดปกติเบื้องหลังหลายอย่าง เมื่อผู้ป่วยมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาความน่าจะเป็นมะเร็ง ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก (จากการสังเคราะห์โปรตีนลดลงและแคแทบอลิซึมโปรตีนเพิ่มขึ้น) โรคติดเชื้อบางชนิด (เช่น วัณโรค เอดส์) ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติออโตอิมมูน หรือการติดแอมเฟตามีน ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอทางกายภาพถึงสถานะที่เคลื่อนไหวไม่ได้จากการขาดความอยากอาหาร หมดแรง และโลหิตจาง และปกติสนองต่อการรักษามาตรฐานเลว[2][3] ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกมีซาร์โคพีเนีย (sarcopenia) เป็นพยาธิสภาพส่วนหนึ่งและอาจจะเกี่ยวกับพันธุกรรมของพ่อหรือแม่ด้วยเช่นกัน

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก

ICD-10 R64
MeSH D002100
ICD-9 799.4

ใกล้เคียง

ภาวะผู้นำ ภาวะผิวเผือก ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำตามหลักจริยธรรม ภาวะผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะโลกร้อน ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะเงินเฟ้อ