ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง

ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง[1] หรือ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (อังกฤษ: Hemolytic anemia) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะเลือดจาง (anaemia) ที่เกิดจากการเฮโมไลซิส (hemolysis) การสลายตัวอย่างผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่ว่าจะเป็นในหลอดเลือด (เฮโมไลซิสในหลอดเลือด; intravascular hemolysis) หรือที่อื่น ๆ ในร่างกายมนุษย์ (นอกหลอดเลือด; extravascular)[2] โดยทั่วไปพบเกิดในม้าม แต่ในความเป็นจริงสามารถเกิดในอวัยวะอื่น ๆ ในระบบ reticuloendothelial system หรืออาจเกิดในลักษณะเชิงกล (mechanically) (ลิ้นพรอสเทติกได้รับการกระทบกระเทือน; prosthetic valve damage)[2] ภาวะเลือดจางชนิดเฮโมไลติกคิดเป็น 5% ของภาวะเลือดจากทั้งหมดที่พบ[2] ผลที่ตามมาจากภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกมีหลายประการ ตั้งแต่อาการทั่วไปจนถึงอาการที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต[2] การจัดแบ่งโดยทั่วไปของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นแบ่งออกเป็นภายใน (intrinsic) หรือภายนอก (extrinsic)[3] การรักษานั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการและเหตุของโรค[2]อาการของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นเหมือนกับอาการของภาวะเลือดจางรูปแบบอื่น ๆ (อ่อนเพลีย, อาการหายใจลำบาก) แต่นอกจากนี้ การสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงยังนำไปสู่ดีซ่าน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว เช่น นิ่วในถุงน้ำดี[4] และ ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง [5]

ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง

สาขาวิชา โลหิตวิทยา
ชื่ออื่น โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, เฮโมไลติกเอนีเมีย (Hemolytic anemia, Haemolytic anaemia)

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเงินฝืด ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง http://www.diseasesdatabase.com/ddb5534.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=283 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15463888 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2022417 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20522578 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2882115 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2...