อาการ ของ ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง

อาการของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นเหมือนกับอาการทั่วไปของภาวะเลือดจาง[2] เช่น อ่อนเพลีย, ตัวซีด, หายใจลำบาก และ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ[2] ในเด็กเล็กอาจพบ ปัญหาการเจริญเติบโต (failure to thrive) ได้ในภาวะเลือดจางชนิดใด ๆ[6][7] นอกจากนี้ อาการที่เกี่ยวข้องกับเฮโมไลซิสอาจพบได้ เช่น หนาวสั่น, ดีซ่าน, ปัสสาวะสีเข้ม และม้ามโต[2] ประวัติทางการแพทย์ในบางมุมอาจนำไปสู่เหตุของการเกิดเฮโมไลซิสได้ เช่น ยา, โรคออโตอิมมูน (autoimmune disorders), ปฏิกิริยาเนื่องด้วยการถ่ายเลือด (blood transfusion), การมีลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น[2]

เฮโมไลซิสเรื้อรัง (Chronic hemolysis) ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการขับบิลลิรูบินออกไปยังทางเดินน้ำดี ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี[8] การปล่อยเฮโมโกลบินอิสระอย่างต่อเนื่อง (continuous release of free hemoglobin) เกี่ยวพันกับการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension; PH) ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่การวูบ (fainting), เจ็ลหน้าอก (chest pain) และอาการหอบแบบก้าวหน้า (progressive breathlessness)[9] ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension; PH) ในที่สุดจะนำไปสู่หัวใจห้องล่างขวาหัวใจล้มเหลว (right ventricular heart failure) ซึ่งมีอาการคือการบวมส่วนปลาย และอาการท้องมาน (ascites)[9]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเงินฝืด ภาวะเพศกำกวม ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง http://www.diseasesdatabase.com/ddb5534.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=283 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15463888 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2022417 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20522578 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2882115 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2...