ภาวะเอกฐานเปลือย
ภาวะเอกฐานเปลือย

ภาวะเอกฐานเปลือย

ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ภาวะเอกฐานเปลือย (Naked singularity) เป็นภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงที่ไม่มีขอบฟ้าเหตุการณ์ในหลุมดำ ภาวะเอกฐานจะถูกล้อมรอบไว้อย่างสมบูรณ์โดยขอบเขต ที่เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event horizon) ซึ่งภายในมีแรงโน้มถ่วงของภาวะเอกฐานเฉพาะสูงจนแสงไม่สามารถหนีพ้นออกไปได้ ดังนั้น วัตถุที่อยู่ภายในขอบฟ้าเหตุการณ์ รวมถึงภาวะเอกฐาน จะไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรงจากภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ในทางตรงกันข้าม ภาวะเอกฐานเปลือยนั้นสามารถสังเกตได้จากภายนอก การมีอยู่ตามทฤษฎีของภาวะเอกฐานเปลือยนั้นมีความสำคัญเนื่องจากการมีอยู่ของพวกมันจะทำให้สามารถสังเกตการยุบตัวของวัตถุในสถานที่ที่มีความหนาแน่นเป็นอนันต์ (Infinity) ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปไม่สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของกาลอวกาศที่อยู่ใกล้กับภาวะเอกฐานได้ ในหลุมดำทั่วไป นี่ไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากผู้สังเกตการณ์ภายนอกจะไม่สามารถสังเกตกาลอวกาศภายในขอบฟ้าเหตุการณ์ได้[1]ยังไม่เคยมีการค้นพบภาวะเอกฐานเปลือยในธรรมชาติ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของหลุมดำบ่งชี้ว่า อัตราการหมุนของหลุมดำที่ได้รับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (กล้องโทรทัศน์) ทั้งหมดที่ได้รับการบันทึก มีความเร็วการหมุนรอบตัวเอง ต่ำกว่าที่เกิดภาวะเอกฐานเปลือยได้ (พารามิเตอร์การหมุน 1) ระบบดาวฤกษ์คู่กับหลุมดำ GRS 1915+105 เข้าใกล้ขีดจำกัดมากที่สุด โดยมีพารามิเตอร์การหมุนอยู่ที่ 0.82-1.00ตามสมมติฐานการเซนเซอร์แห่งเอกภพ (Cosmic Censorship Hypothesis) ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงจะไม่สามารถสังเกตได้[2] แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากทฤษฎีแรงโน้มถ่วงควอนตัมแบบวนซ้ำ (loop quantum gravity) มีความถูกต้อง ภาวะเอกฐานที่เปลือยเปล่าอาจเป็นไปได้ในธรรมชาติ

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ